วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

13 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : TQM

Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : TQM
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
แนวคิด TQM ถูกคิดค้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย W.Edwards Deming เพื่อปรับปรุงคุณภาพการผลิตสินค้าและบริการ แต่ชาวอเมริกายังไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง   สำหรับการนำแนวคิดการบริหารงานโดยใช้ TQM  มาใช้ในการบริหารงานอย่างจริงจังนั้น  ได้เริ่มตั้งแต่ปลายปี 1940 โดยความพยายามของบุคคลที่มีบทบาทในการบริหารคุณภาพ เช่น Juran , Feigenbaum และ Deming ในปี 1951 Feigenbaum ได้แต่งหนังสือ เรื่อง Total Quality Control และในปีเดียวกัน Joseph M. Juran เขียนหนังสือ เรื่อง Juran’s Quality Control Handbook TQMได้รับความนิยมและมีผลในทางปฏิบัติมากในประเทศญี่ปุ่นซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับชาติ ที่เน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี ทั้งนี้เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 (WWII) และต้องการฟื้นฟูประเทศโดยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพส่งออกเพื่อนำเงินตราเข้าประเทศ ในทศวรรษต่อมา ในปี 1951 ประเทศญี่ปุ่นโดยสมาคมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japanese Union of Scientists and Engineers : JUSE) ได้จัดทำรางวัล Deming Prize เพื่อมอบให้กับบริษัทที่มีผลงานด้านคุณภาพที่ดีเด่นในแต่ละปี รางวัลดังกล่าวมีผลต่อการส่งเสริมการปรับปรุงคุณภาพสินค้าในญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก   ในปี 1987 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้มอบรางวัลคุณภาพแห่งปีที่เรียกว่า Malcolm Baldrigre Award แก่องค์กรที่มีผลงานด้านการประกันคุณภาพยอดเยี่ยม
                ปรัชญาของ TQM มุ่งหวังให้บุคลากรทุกคนทุกฝ่ายร่วมมือกันในการสร้างคุณภาพของงานขององค์กร หลักการของ “Kaizen” ในประเทศญี่ปุ่นต้องการให้พนักงานทุกคนค้นหาปัญหาเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง TQM สอนให้ป้องกันของเสีย ซึ่งหมายรวมถึงความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นสินค้า ข้อมูลข่าวสาร หรือความสำเร็จของเป้าหมายตามที่ลูกค้าทั่วทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งฝ่ายบริหารคาดหวัง TQM ยังหมายรวมถึงระบบการตรวจหรือสืบค้น เพื่อสามารระบุปัญหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ได้รับการแก้ไขปรับปรุง

เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
TQM หรือ การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management) หมายถึง แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วม และมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า รวมทั้งการสร้างผลประโยชน์แก่หมู่สมาชิกขององค์กรและแก่สังคมด้วย


เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
วัตถุประสงค์ของ TQM คือ การสร้างความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า นอกจากนั้นยังสามารถมีวัตถุประสงค์ทางการจัดการอื่นๆ เช่น การลดต้นทุน การลดเวลาการส่งมอบ เป็นต้น ทั้งนี้ทุกหน่วยงานจะต้องปรับปรุงคุณภาพของตนโดยตระหนักถึงวัตถุประสงค์ที่กล่าว
ข้อดีของเครื่องมือ
-                   ทำให้สินค้าและบริการที่ผลิตมีคุณภาพตรงตามความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
-                   ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-                   พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินการและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง
-                   แก้ปัญหาเรื่องคุณภาพได้อย่างเป็นระบบและมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน
-                   ลดปัญหาเรื่องข้อร้องเรียนจากลูกค้าและยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                   ทำได้ยาก หลาย ๆ บริษัทชั้นนำของโลกใช้เวลาไม่ต่ำกว่าห้าปี
-                    ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและตั้งใจ เนื่องจากการทำ TQM ไม่ได้เห็นผลทันที
-                   หากรรมการที่เป็นที่ยอมรับได้ยาก 
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
การจัดทำ TQM ควรจะดำเนินการอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอน เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและ กำหนดวิธีในการดำเนินการให้สามารถบรรลุผลสำเร็จ  ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอน ต่าง ๆ ได้ 3 ขั้นตอน
                ขั้นตอนที่ 1          ขั้นเตรียมการ  ( Preparation )
                ขั้นตอนที่ 2           ขั้นดำเนินการ  ( Implementation )
                ขั้นตอนที่ 3           ขั้นสรุปผล  ( Conclusion )
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
บริษัท นันยางการทออุตสาหกรรม จำกัด เพื่อเป็นโรงงานรับจ้างฟอกย้อม เส้นด้าย และ ผ้าถัก COTTON, TC, CVC, Polyester เป็นต้น มีการนำ TQM มาใช้ก็มีความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีดังนี้
-                   ผู้บริหารเกิดความรู้ ทักษะในการบริหารจัดการแบบใหม่ โดยมีแนวคิดที่ชัดเจน
-                   มีการประเมินผลสัมฤทธิ์จากกระบวนการทำงานอย่างจริงจัง
-                   มีการทำวงจร PDCA เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นในหลาย ๆ หน่วยงานด้วยความสมัครใจ
-                   มีการเก็บตัวเลขด้วยข้อมูลที่เชื่อถือได้ ใช้ตัวเลขจริงทางสถิติ เพื่อวินิจฉัย ลดการใช้ความรู้สึกในการตัดสินปัญหา
-                   พนักงานที่ได้ปฏิบัติตามแนวคิด TQM และทำเป็นกิจวัตรตาม DM มีความรู้และศักยภาพเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด


หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น