วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

03 Framework Management Tool Box ด้าน Controlling : Balanced Scorecard (BSC)

Framework Management Tool Box ด้าน Controlling :  Balanced Scorecard (BSC)
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
เครื่องมือการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า “Balanced Scorecard” เป็นกลยุทธ์ในการบริหารงานสมัยใหม่และได้รับความนิยมไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย Balanced Scorecard ได้ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อปี 1990 โดย Drs. Robert Kaplan จาก Harvard Business School และ  David Norton จาก Balanced Scorecard Collaborative โดยตั้งชื่อระบบนี้ว่า Balanced Scorecard” เพื่อที่ผู้บริการขององค์กรจะได้รับรู้ถึงจุดอ่อน และความไม่ชัดเจนของการบริหารงานที่ผ่านมา Balanced Scorecard จะช่วยในการกำหนดกลุยทธ์ในการจัดการองค์กรได้ชัดเจน
 เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
Balanced Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน โดยระบบของ Balanced Scorecard จะเป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากผล    ที่เกิดขึ้นของกระบวนการทำงานภายในองค์กร และผลกระทบจากลูกค้าภายนอกองค์กร มานำมาปรับปรุงสร้างกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพดีและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น เมื่อองค์กรได้ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบ Balanced Scorecard เต็มระบบแล้ว Balanced Scorecard จะช่วยปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์ขององค์กรจากระบบ การทำงานตามคำสั่งหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้สืบทอดกันมา (academic exercise)” ไปสู่ระบบ การร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวขององค์กร   (nerve center of an enterprise)”
องค์ประกอบของ BSC ประกอบด้วย
1.             มุมมองทางด้านการเงิน (Financial Perspective)
2.             มุมมองทางด้านลูกค้า (Customer Perspective
3.             มุมมองทางด้านกระบวนการภายใน (Internal Business Process)
4.             มุมมองทางด้านการเรียนรู้และพัฒนา (Learning and Growth)        
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
ประเมินผลทำให้องค์การสามารถทราบสถานะของตนเองว่ามีสถานะอย่างไร ต้องมีการปรับปรุงส่วนใด เพื่อที่จะได้มีการพัฒนาและแก้ไขในส่วนที่เป็นงานเร่งด่วน หรือแก้ไขในลักษณะการพัฒนาแบบยั่งยืน  ปัจจุบันองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความสำคัญกับการประเมินผลการดำเนินงาน นอกจาก BSC จะเป็นเครื่องมือในการประเมินผลและวัดผลการปฏิบัติงานแล้วยังสามารถช่วยในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์การได้อีกด้วย
ข้อดีของเครื่องมือ
-                   เป็นการประเมินในองค์รวมที่ครอบคลุมมิติต่าง ๆ ทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินเพื่อให้เกิดความสมดุล
-                   มีการเชื่อมโยงระหว่างการประเมินผลกับกลยุทธ์ขององค์กรอย่างเป็นระบบ
-                   ใช้เป็นเครื่องมือในการผลักดันกลยุทธ์องค์กรได้
-                   มีการพัฒนาแนวคิดอย่างต่อเนื่องโดยนำผลจากประสบการในการปฏิบัติมาใช้ ทำให้สามารถนำไปใช้ได้จริงกับองค์กร
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                   การประเมินผลแบบนี้ต้องมีความสมดุลในมิติตางๆ มิฉะนั้น BSC จะไม่สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่
-                   หากมีตัวชี้วัดหรือตัวเลขมากเกินไป จะทำให้ประสิทธิผลของเครื่องมือลดลง
-                   BSC ต้องมีการทบทวนอย่างต่อเนื่อง
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
1.             ทำการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) ขององค์กร
2.             ทำการพัฒนาวิสัยทัศน์ (Vision) ขององค์กร
3.             ทำการกำหนดมุมมอง (Perspective) ด้านต่าง ๆ
4.             ทำการกำหนดกลยุทธ์ (Strategy) และวัตถุประสงค์ (Objective) ในมุมมองด้านต่าง ๆ
5.            จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ด้านต่างๆเพื่อสร้างเป็นแผนที่ทางกลยุทธ์ (Strategy Map) (ดังรูป)
6.             กำหนดตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPIs) และเป้าหมาย (Target)
7.             จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
              ปัจจุบัน Balanced Scorecard ได้มีการนำมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินผลในการทำงาน และช่วยในการนำกลยุทธ์ส่งผ่านไปถึงบุคลากรในองค์กร มีหลายกิจการในประเทศไทยที่ได้นำ Balanced Scorecard มาใช้ เช่น บริษัทเงินทุน ทิสโก้ จำกัด, ธนาคารกสิกรไทย, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด, บริษัท แอดแวนซ์ อินโฟ เซอร์วิซ จำกัด เป็นต้น
บริษัท ซีพี.เซเว่น อีเลฟเว่น ในปี 2540 หลังจากที่เกิดสภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีปัญหา ทำให้เซเว่น อีเลฟเว่น มีการนำ Balanced Scorecard มาใช้กับบุคลากรกว่า 20,000 คน และมีสาขากว่า 2,000 แห่ง หลังจากการนำมาใช้ทำให้  กำไรของกิจการมีมากขึ้นแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เซเว่น อีเลฟเว่นได้ ก็คือบุคลากรเกิดการเคลื่อนไหวอย่างมีทิศทางมากขึ้น มีเป้าหมายชัดเจนในการดำเนินงานและทุกคนมีความพยายามไปให้ถึงเป้าหมายขององค์กรในทิศทางเดียวกัน


หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น