วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

04 Framework Management Tool Box ด้าน Leading : Communication

Framework  Management  Tool  Box ด้าน Leading : Communication
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
ทฤษฎีของการสื่อสารเริ่มก่อตั้งขึ้น โดยค่อย ๆ แยกจากทฤษฎีทางสังคมวิทยา จิตวิทยาและภาษา กลายมาเป็นศาสตร์ใหม่ในตัวของมันเองที่เรียกว่า การสื่อสารมวลชน (mass communication study) มุ่งวิจัยผลของสื่อมวลชนที่มีต่อการเมือง สังคม และวัฒนธรรม เราเรียกทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ในระยะเริ่มแรกนี้ว่า ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน  (Mass Communication Theory)  ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากผลงานของ    วิลเบอร์ ชรามม์ เมลวิน เดอเฟอร์ และเดนิส แมคเควล
แต่กลุ่มทฤษฎีระบบ (Systems Theories) ของวีเนอร์ แชนนอน และวีเวอร์ (Wiener – Shannon – Weaver) และในเชิงการสื่อสารของมนุษย์ (Human Communication) ของเบอร์โล (Berlo) รวมทั้งในเชิงการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) ของไฮเดอร์ นิวคอมบ์ เฟสติงเกอร์ และออสกูด (Heider-Newcomb-Festiger-Osgood) ส่งผลให้การศึกษาด้านสื่อสารมวลชนขยายตัวออกไปครอบคลุมอาณาบริเวณของการสื่อสาร (communication spheres) ที่กว้างขวางขึ้น
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
การสื่อสาร (Communication) คือ  กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน
ภาพแสดง Model การสื่อสาร
 กระบวนการติดต่อสื่อสาร ประกอบด้วย
ข้อดีของเครื่องมือ
1.             เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร
2.             เพื่อกระตุ้นและจูงใจ
3.             เพื่อประเมินผลการทำงาน
4.             เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในหมู่คณะ
5.             เพื่อวินิจฉัยสั่งการ
ข้อเสียของเครื่องมือ
1.             การบิดเบือนการสื่อสาร
2.             ภาระหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสื่อสาร

ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
การสื่อสารในองค์กรในปัจจุบันนี้จำเป็นต้องหาข้อมูลข่าวสารให้ได้รวดเร็วกว่าในอดีต สำหรับการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีและเพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เส้นทางของการสื่อสารในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีเส้นทางการสื่อสารเกิดขึ้นได้หลายทิศทางสรุปได้ดังนี้
1.             การสื่อสารจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง  
2.             การสื่อสารจากเบื้องล่างขึ้นสู่เบื้องบน 
3.              การสื่อสารตามแนวราบ
4.              การสื่อสารข้ามสายงาน
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา

ความพึงพอใจของพนักงานต่อการสื่อสารภายในองค์การ กรณีศึกษาบริษัท ไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย) จํากัด

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ความพึงพอใจของพนักงานต่อการสื่อสาร ภายในองค์การกรณีศึกษาบริษัทไฮไฟ โอเรียนท์ ไทย จํากัด โดยรวมทั้ง 6 ด้านได้แก่ ด้าน ความพึงพอใจในงาน ด้านความเพียงพอของข่าวสาร ด้านความสามารถเสนอแนะปรับปรุงให้ ดีขึ้นของบุคคล ด้านประสิทธิภาพของช่องทางการติดต่อสื่อสาร ด้านคุณภาพของสื่อกลาง และด้านวิธีการติดต่อสื่อสารเพื่อร่วมงาน โดยจําแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับ ตําแหน่ง และ รูปแบบการสื่อสาร
ที่มา : http://www.thaihrhub.com/index.php/archives/research-view/research-221/


หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น