วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

01 Framework Management Tool Box ด้าน Controlling : EVA

Framework  Management  Tool  Box ด้าน Controlling : EVA
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
EVA ชื่อย่อของ Economic Value Added เรียกเป็นไทยว่ามูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์นำมาตร EVA มาเป็นเครื่องมือวัดผลงานนานกว่า 20 ปีแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม EVA เริ่มมีความโด่งดังหลังการปฏิวัติแนวทางเศรษฐศาสตร์การเงิน จากการวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงสองท่านคือ Joel M.Stern และ Bennett Stewart III 
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์(Economic Value Added : EVA) คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการปฏิบัติงานโดยไม่ได้มุ่งเน้นแต่เพียงกำไรสุทธิเป็นหลักเท่านั้นแต่ยังพิจารณาต้นทุนค่าเสียโอกาสของเจ้าของเงินทุน(ผู้ถือหุ้น)ด้วย ดังนั้นในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจจะต้องสร้างรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายต่างๆในการดำเนินธุรกิจ และต้องมีกำไรจากการดำเนินการเพียงพอที่จะชำระต้นทุนการลงทุนของผู้ให้กู้
องค์ประกอบของ EVA ในเชิงที่สัมพันธ์กันกับกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่จัดทำขึ้นตามแนวทางปฏิบัติของมาตรฐานการบัญชี      
องค์ประกอบของ EVA
(ดัดแปลงจาก Biddle, Bowen and Wallace (1997))
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ                                                                                                                                                                               XX
ปรับกระทบกำไร (ขาดทุน) สุทธิเป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากการดำเนินงาน
ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย                                                                                                                                                           XX
หนี้สงสัยจะสูญ                                                                                                                                                                                                                 XX
ขาดทุนจากการตีราคาสินค้าลดลง                                                                                                                                                      XX
ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์                                                                                                                                                  XX
(กำไร) ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง                                                                                                                   XX
ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) ในบริษัทร่วม                                                                                                                                                                         XX
(กำไร) ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์                                                                                                                                                  XX
(ขาดทุน) กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย                                                                                                                                          XX
กำไร (ขาดทุน) จากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน                                                 XX
(การเพิ่มขึ้น) ลดลงในสินทรัพย์หมุนเวียนยกเว้นเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด                                XX
(การลดลง) เพิ่มขึ้นในหนี้สินหมุนเวียนยกเว้นเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้น                               XX
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมดำเนินงาน (CFO)                                                                                                               XX
บวก (หัก) รายการปรับกระทบกำไร (ขาดทุน) สุทธิเป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากการดำเนินงาน
  (Accruals)                                                                                                                                                                         XX
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (ก่อนรายการพิเศษ)                                                                                                                                         XX
บวก ดอกเบี้ยจ่าย สุทธิจากภาษีเงินได้                                                                                                                                            XX
NOPAT                                                                                                                                                                                                                               XX
หัก ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินทุน                                                                                                                                                                                             XX
กำไรส่วนที่เหลือ (Residual Income) (EVA ที่ยังไม่ได้ปรับปรุง (Unadjusted EVA))                                                             XX
บวก (หัก) รายการปรับปรุงทางบัญชี                                                                                                                                                                               XX
EVA                                                                                                                                                                                                                                     XX
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
-                   ใช้เป็นตัววัดทางด้านการเงินของผลตอบแทน อยู่บนพื้นฐานความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้น
-                   ใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดผลการดำเนินงาน
-                   ใช้กำหนดแผนการจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้บริหาร
-                    เป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงขององค์กร
ข้อดีของเครื่องมือ
-                   นำ EVA ไปเชื่อมโยงกับผลตอบแทนที่ฝ่ายบริหารจะได้รับ EVA จะเป็นสิ่งจูงใจฝ่ายบริหารที่เหนียวแน่นในอันที่จะเฟ้นหาและเลือกลงทุนในโครงการลงทุน
-                   เป้าหมายจะสามารถกระจายสู่ส่วนงานและแผนกต่าง ๆ ในองค์กร (ในบางครั้งไปในรูปของตัวผลักดัน EVA แทนที่จะเป็น EVA โดยตัวของมันตามลำพัง)
-                   เป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงอันหนึ่ง
ข้อเสียของเครื่องมือ

ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
สูตรการคำนวณ EVA      
EVA = NOPAT - (WACC x INVESTED CAPITAL)
ส่วนประกอบหลักๆ ในการคำนวณ EVA จะมีในงบกำไรขาดทุนและงบดุลของทุกบริษัทอยู่แล้วคือ
1. กำไรหลังหักภาษี (Net Operating Profit After Tax: NOPAT)
2. เงินลงทุน (Capital) 3. ต้นทุนของเงินลงทุน (Capital Charge)
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
วิสาหกิจภาคเอกชน โดยเฉพาะวิสาหกิจด้านการเงินการธนาคาร เช่น ธนาคารพาณิชย์ได้ประยุกต์ EVA ในการบริหารงาน เช่น Standard Charter Bank และธนาคารพาณิชย์ไทยหลายแห่งกำลังศึกษาแนวทางในการประยุกต์ใช้ EVA ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 กระทรวงการคลังกำหนดนโยบายให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้มีคุณค่า (value) สูงยิ่งขึ้น ซึ่ง EVA เป็นดัชนีวัดประสิทธิภาพดังกล่าวนี้

หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น