Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Six Sigma (6s)
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
ในทศวรรษที่ 1980 และ1990 เป็นต้นมา บริษัทต่างๆได้นำกลยุทธ์ 6 ซิกม่ามาใช้ในการปรับปรุงผลการผลิตเพื่อในการแข่งขันกับคู่แข่งของตนจนทำให้บริษัทนั้นๆต่างมีผลกำไรอย่างมากมายและเป็นที่ ภาคภูมิใจกับบริษัทของตน เช่น บริษัทโมโตโรล่า (Motorola (1987), บริษัทเท็กซัส อินสตรูเม้นท์ส ( Texas Instruments (1988), บริษัทจีอี ( GE (1995), โทรศัพท์มือถือโนเกีย ( Nokia Mobile(Phone) ระหว่างปีค.ศ.1996-1997) เป็นต้น
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
Six Sigma (6s) คือ เครื่องมือและแนวคิดในการปรับปรุงคุณภาพในองค์กรเพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุดโดยใช้หลักการทางสถิติและมุ่นเน้นลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการรวมทั้งลดผลกระทบและค่าใช้จ่าย โดยชื่อของ Six Sigma นั้นได้มาจากแนวความคิดที่ว่าโอกาสที่เกิดขึ้น 3.4 ครั้งต่อการผลิตหรือการปฏิบัติงาน 1 ล้าน ระดับสมรรถนะขององค์กรโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2 Sigma หรือ 3 Sigma
กระบวนการมาตรฐานของ Six Sigma ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ ซึ่งเรียกย่อๆ ว่า DMAIC
1. D : Define
2. M : Measure
3. A : Analyze
4. I : Improve
5. C: Control
¢ ± 2σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 95.45 %
¢ ± 3σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 99.73 %
¢ ± 4σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 99.9937 %
¢ ± 5σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 99.999943 %
¢ ± 6σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 99.9999996 %
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
- การลดข้อบกพร่อง (Defect Reduction)
- การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต (Yield Improvement)
- เพิ่มความพอใจของลูกค้า (Improved Customer Satisfaction)
- เพิ่มรายได้สุทธิ (Higher Net Income)
ข้อดีของเครื่องมือ
- ลดจำนวนของเสีย ทำมีกระบวนการทำงานที่มีเสถียรภาพและทำให้ต้นทุนต่ำลง
- กระบวนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่มีรูปแบบและมาตรฐาน
- การทำงานง่ายขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- เป็นการทำงานโครงการ ที่สามารถวัดผลสำเร็จได้
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
1. กำหนดเป้าหมาย (Define Target)
2. การวัดความสามรถของกระบวนการ (Measure)
3. การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา (Analyze)
4. การปรับปรุงโดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา (Improve)
5. การควบคุมกระบวนการที่มีผลกระทบ (Control)
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
ธุรกิจที่มีชื่อเสียงหลายรายได้นำเอาวิธีการนี้ไปใช้ในองค์กรเช่น บริษัท General Electric (GE) จำกัด เป็นต้น ที่นำวิธีการนี้มาใช้ในปี ค.ศ. 1996 โดยได้ผลดังนี้
- CEO มีการปลูกฝังทัศนคติและมุมมองเรื่องของ “Six Sigma” เสมือน “ดี เอ็น เอ ที่อยู่ในสายเลือด” ของทุกคนในองค์กร
- การมองศูนย์กลางที่ตัวลูกค้าเป็นสำคัญ (Customer Centric)
- ต้องทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Everybody Play)
- การตั้งเป้าหมายอย่างท้าทาย (Straight Target) บนความเชื่อที่ว่า “ทำได้มากกว่า
- กำหนดทิศทางโดยผู้รับผิดชอบ ใน GE ไม่มีระบบอาวุโส
หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น