วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

03 Framework Management Tool Box ด้านOrganizing : Team Development

Framework  Management  Tool  Box  ด้านOrganizing  : Team Development
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
Joseph M. Putti (อ้างถึงใน จิราภรณ์  สีขาว, 2541. 2) กล่าวว่า การทำงานเป็นทีมนั้น ผลงานที่ได้จากทีมจะมากกว่าผลงานของแต่ละคนที่ทำงานคนเดียวมารวมกัน  ดังนั้นการทำงานเป็นทีมจึงเป็นวิธีการที่ได้ผลมากที่สุด ในการปรับปรุงประสิทธิผลในการทำงานมีอยู่หลายกรณีที่ผลงานออกมาดีกว่าและประหยัดกว่ากลุ่มย่อย จะมีความรู้สึกของการทำงานเป็นทีมมาก จึงเป็นผลให้สมาชิกกลุ่มพร้อมที่จะร่วมในกิจกรรมกลุ่ม และเมื่อมีส่วนร่วมก็มีความผูกพันและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเป็นอย่างดี และถ้ามุ่งปรับปรุงคุณภาพความสัมพันธ์ที่มีอยู่ต่อกันระหว่างสมาชิกของกลุ่ม และมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มกับงานที่กลุ่มกำลังทำ จะช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิผลและบรรลุเป้าหมายที่ต้องการขององค์การเป็นการสร้างพื้นฐานสำคัญเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจในการทำงานเป็นทีม และสามารถนำไปสู่การพัฒนาทีมงานได้ โดยต้องอาศัยเทคนิค วิธีการหลายอย่างที่จะสร้างทีมงานให้เข้มแข็ง และพัฒนาทีมงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อองค์การที่เข้มแข็งต่อไป
กระบวนการเบื้องต้นในการพัฒนาทีมงาน ต้องมีหลักการ (Principle) และเทคนิค ที่เหมาะสม ตัวแบบซึ่งแสดงความต่อเนื่องและความสัมพันธ์กันขององค์ประกอบต่าง ๆ
1.               เริ่มจากการสร้างความไว้วางใจกัน
2.               พูดจากันอย่างเปิดเผย
3.               หันหน้าเข้าปรึกษาหารือกันได้
4.               เสริมความร่วมมือกันอย่างแข็งขันให้มากขึ้น
5.               ติดตาม สร้างเสริมการพัฒนาทีมงานอย่างต่อเนื่อง
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
การพัฒนาทีมงาน( Team development) การพัฒนาทีม คือ ความพยายามอย่างมีแผน เพื่อเปลี่ยนแปลงทีมงานให้เป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างมีระบบ ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1.               ประสิทธิภาพของงาน (Efficiency) ซึ่งส่วนใหญ่จะมุ่งคุณภาพของคนทำงานทีม แต่ความสำเร็จของงานตรงนี้จะอยู่ที่ความพึงพอใจ ความภูมิใจของสมาชิก
2.               ตัวผู้นำ  (Leader) โดยผู้นำจะต้องเป็นตัวเชื่อมและประสานให้เกิดการทำงานร่วมกันของสมาชิก
3.               กระบวนการหรือวิธีการทำงานเป็นทีม (Procedure) มีการเตรียมการ มีการวางแผน มีหลักเกณฑ์และแนวทางในการทำงานร่วมกันตั้งแต่เริ่มงานจนเสร็จการปฏิบัติงาน
4.               ความรับผิดชอบ (Responsibly) ถือเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในหน้าที่ บทบาทในการทำงาน ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเต็มความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่ตลอดเวลาทั้งต่อตนเองและผู้อื่นในทีมเดียวกัน
5.                การมีส่วนร่วม (Participation) เป็นการมีส่วนร่วมในการทำงาน ทุกคนต้องมีความรู้สึกว่างานเป็นของตนเอง มีการประสานงานกันอย่างเต็มที่จนสำเร็จ
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
-                    เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การ ได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ
-                    เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้มีความรู้และความสามารถสูงขึ้น
-                    เพื่อสร้างความไว้วางใจและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสมาชิกและระหว่างกลุ่มหรือทีมงาน
-                    มุ่งเน้นการเพิ่มความมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพขององค์การ
ข้อดีของเครื่องมือ
-                    ได้ผลงานสำเร็จตามเป้าหมาย
-                    มีการพัฒนาประสิทธิภาพของกลุ่มอยู่เสมอและทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม
-                    เพิ่มผลผลิตให้แก่องค์การ
-                    ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย การลากิจ การเปลี่ยนงาน การลาออกจากงาน ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง
-                    ทำให้องค์การสามารถดำเนินการ  เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                    วัฒนธรรมองค์กรเก่าที่ครอบงำ และขวางกั้นการเปลี่ยนแปลง
-                    พนักงานไม่เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลง
-                    ขาดจุดมุ่งเน้นระหว่างดำเนินการเปลี่ยนแปลง
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
1.               แม่แบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  (Action research model)
                     ขั้นตอนที่ 1   การตระหนักรู้ถึงปัญหา
                     ขั้นตอนที่ 2   การเก็บรวบรวมและตรวจวินิจฉัยข้อมูล                                                    เบื้องต้น
                     ขั้นตอนที่ 3   การให้ข้อมูลป้อนกลับและการตรวจ                                       วินิจฉัยร่วมกัน
                     ขั้นตอนที่ 4   การวางแผนร่วมกันและการปฏิบัติตามแผน
                     ขั้นตอนที่ 5   การเก็บรวบรวมและตรวจวินิจฉัยข้อมูล อีกครั้งหนึ่งหลังจากปฏิบัติตามแผนในข้อ 4
2.               แม่แบบการสร้างทีมงาน  (Team building model)
                                ขั้นตอนที่ 1            การวินิจฉัยเบื้องต้น
                                ขั้นตอนที่ 2            การรวบรวมข้อมูล
                                ขั้นตอนที่ 3            การตรวจสอบข้อมูล
                                ขั้นตอนที่ 4            การวางแผนปฏิบัติงาน
                                ขั้นตอนที่ 5            การสร้างทีมงาน
                                ขั้นตอนที่ 6            การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม
                                ขั้นตอนที่ 7            การประเมินผลและติดตามผล
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
สำนักงานก.พ.  มีการนำเครื่องมือ Team Development  มาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานในการทำงานเป็นทีมของพนักงานราชการ   อันได้แก่ ในการติดต่อสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การเป็นผู้นำ การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ การชี้นำทีมงาน และการบริหารความขัดแย้ง และหน่วยงานควรจัดให้มีกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานเป็นทีม


หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น