วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

06 Framework Management Tool Box ด้าน Controlling : Performance Prism

Framework  Management  Tool  Box ด้าน Controlling : Performance Prism
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
ปัจจุบันมีนักคิดหลายท่านเสนอแนวคิดเกี่ยวกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กรขึ้นมาอย่างมาก และเป็นที่นิยมแพร่หลาย เช่น ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบสมดุล หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Balanced Scorecard (BSC), ระบบการประเมินผลแบบมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ หรือ Economic Value Added (EVA) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากมีการพิจารณาแนวคิดการประเมินผลดังกล่าวจะพบว่า ระบบ BSC แม้ว่าเป็นการเน้นความสมดุลของมุมมองหลายมุมมอง และมีความเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ก็ตาม แต่ก็ยังมีการละเลยมุมมองที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ นอกเหนือจากลูกค้า ส่วนระบบ EVA เป็นการให้ความสำคัญในด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว โดยมุ่งเน้นความสำคัญด้านการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นคือ การปฏิบัติงานขององค์กรใดๆ ก็ตาม จะต้องนำไปสู่การได้กำไรในเชิงเศรษฐกิจ (กำไรที่มากกว่าสิ่งที่ควรจะได้)


Performance Prism ได้ถูกออกแบบให้เป็นเครื่องมือที่ยืดหยุ่น สามารถใช้ได้กับองค์กรธุรกิจหรือองค์กรไม่แสวงหากำไร หรือองค์กรที่มีขนาดใหญ่หรือเล็ก โดยลักษณะของปริซึม (Prism) ที่เมื่อผ่านด้วยแสง  จะแยกแสงที่เราเห็นสีขาวออกเป็นสีต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ ด้วยลักษณะนี้ Neely จึงใช้ปริซึมเป็นภาพที่แสดงถึงความซับซ้อนที่ซ่อนอยู่ของการวัดประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารผลการดำเนินงานในแง่มุมต่างๆ
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
มุมมองของ Performance Prism   วางเป้าหมายในการบริหารผลการดำเนินงานขององค์กรใน 5 มิติ (ด้านของปริซึม)  ที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่
   
1.               มิติด้านความพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Satisfaction)  องค์กรจำเป็นต้องส่งมอบ (Value)  ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญขององค์กรกลุ่มต่าง ๆ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะรวมทั้งนักลงทุน ลูกค้า  พนักงาน  ผู้ส่งมอบ  หน่วยงานกำกับดูแล กลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร
2.               มิติด้านการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholder Contribution)  องค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตะหนักถึงสิ่งตอบแทนที่คาดหวังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม  ในลักษณะของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างกัน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วจะต้องใช้การพิจารณาอย่างรอบคอบระหว่างความต้องการของแต่ละฝ่าย  เนื่องจากความต้องการทั้งสองด้านนั้น  มักกระทบต่อกัน
3.               มิติด้านกลยุทธ์  (Strategies) กลยุทธ์เป็นการพิจารณาจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  โดยผู้บริหารจะต้องตัดสินใจในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการต่าง ๆ กำหนดเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสม  ที่สามารถส่งมอบคุณค่าที่ผู้มีส่วนเสียต้องการได้
4.               มิติด้านกระบวนการ  (Processes)   กระบวนการนั้นจะหมายถึงขั้นตอนการดำเนินงานขององค์กร  ซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นการดำเนินงานข้ามสายงาน  ที่จำเป็นต้องมีการกำหนดแบบแผนขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบเพื่อให้กระบวนการสามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้น  บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกระบวนการนั้น ๆ

5.                 มิติค้านความสามารถ (Capabilities)   กระบวนการที่กำหนดขึ้นนั้นไม่สามารถดำเนินการได้โดยปราศจากความสามารถที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ทักษะของพนักงาน นโยบายหรือระเบียบที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน  อุปกรณ์หรือโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ รวมทั้งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้วย
สำหรับมุมมองทั้ง 5 ด้านนี้ มุมมองที่ถือว่าเป็นแนวคิดของผลลัพธ์ที่สำคัญใน Performance Prism คือ มุมมองที่ 1 ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร ส่วนมุมมองอื่นๆ ที่เหลือถือว่าเป็นแรงขับหรือเป็นสาเหตุที่จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรขึ้น ซึ่งมุมมองทั้ง 5 ด้านนี้ จะมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน และจะช่วยแก้ไขปัญหาของระบบการประเมินผลแบบอื่นๆ ที่จะมุ่งเน้นมุมมองใดมุมมองหนึ่ง ขณะที่แนวคิดของ Performance Prism จะเพิ่มมุมมองให้ครอบคลุมและมีความหลากหลายมากกว่าที่จะให้ความสำคัญไม่ใช่แต่เฉพาะสิ่งที่จะทำประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร แต่ยังเป็นมุมมองถึงประโยชน์ที่องค์กรควรจะได้รับกลับคืนจากผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรด้วย เพื่อไม่ให้เป็นการทุ่มเททรัพยากรมากจนเกินไปในการเอาใจผู้มีส่วนได้เสีย โดยไม่ได้คำนึงถึงผลตอบแทนกลับมา และยังเป็นการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อองค์กรด้วย
ข้อดีของเครื่องมือ
-       ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
-         มีกรอบแนวความคิดในลักษณะของการยืดหยุ่นต่อการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ตลอด


หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น