Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : Knowledge Management : KM
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ เก็บรักษา แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ความชำนาญทุกรูปแบบ เช่น เอกสาร แฟ้มงานในคอมพิวเตอร์ หรือตัวบุคคลากร ภายในองค์กรภาครัฐและเอกชน หรืองานด้านธุรกิจการค้าและบริการ โดยพัฒนาและบริหารจัดการระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างยั่งยืน อย่างน้อย 4 ประการ คือ เป้าหมายของงาน เป้าหมายการพัฒนาคน และเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และบรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
องค์ประกอบของ Knowledge Management
องค์ประกอบของ KM
- Data (ข้อมูล) ข้อมูลดิบ ข้อเท็จจริง หรือตัวเลขต่างๆที่ยังมิได้มีการวิเคราะห์ แปล ความ
- Information (สารสนเทศ) ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์
- Knowledge (ความรู้) สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์วิเคราะห์ เปรียบเทียบ เชื่อมโยงจนเกิดความเข้าใจ นำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ
- Wisdom (ปัญญา) ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
1. เปลี่ยนแปลงเทคนิคในการบริหารงาน เทคนิคในการบริหารงานแบบเก่า เช่น การบริหารงานโดยรวม (TQM) การรีเอ็นจิเนียริ่ง เป็นเทคนิคที่ใช้ในการบริหารองค์กร แต่เทคนิคเหล่านี้ไม่สามารถพัฒนาความชาญฉลาดขององค์กรได้ จึงได้นำการจัดการความรู้เข้ามาใช้
2. การเปลี่ยนแปลงด้านการตลาด ในการแข่งขันด้านการตลาดเทคนิคการการขายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ดังนั้นเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจจึงต้องมีการพัฒนาฐานความรู้ในองค์กร
3. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ
4. สร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด ช่วยให้องค์กรลดงบประมาณในการทำงานได้
ข้อดีของเครื่องมือ
- ผลสัมฤทธิ์ของงาน เกิดผลสำเร็จในงานระดับดีขึ้น และอาจจะได้นวัตกรรมของงานใหม่ๆ
- เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้บุคคลสู่ชุมชนในหมู่ผู้ร่วมงาน
- มีการจัดระบบความรู้ และพร้อมนำไปใช้ประโยชน์
- องค์กร มีสภาพเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เข้มแข็ง พร้อมแข่งขัน
ข้อเสียของเครื่องมือ
- ความไม่ชัดเจนในการถ่ายทอดความรู้
- การกระจายของแหล่งข้อมูล ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
- ขาดการประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีอยู่ สร้างประโยชน์แก่องค์กร
- ขาดการจัดการความรู้เดิม ทำให้เสียประโยชน์จาการใช้งาน
- การไม่นำความรู้ภายนอกมาปรับใช้ อาจจะทำให้ตามสถานการณ์โลก
- ความรู้ในองค์กร ความรู้ภายนอกองค์กร ไม่เชื่อมโยงกับงาน และขาดบริบทในการปฏิบัติงาน
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
1. การจัดหาหรือการสร้างความรู้ (Knowledge Creation Acquisition)
2. การจัดเก็บความรู้ (Knowledge Organization Storage)
3. การเผยแพร่ความรู้ (Knowledge Distribution)
4. การใช้โปรแกรมการจัดการความรู้ (Knowledge Application)
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
บริษัท ปูนซีเมนต์ไทยฯ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีระบบการจัดการความรู้ที่โดดเด่นในประเทศไทย มีแนวคิดเรื่อง KM ที่ต่างออกไป กล่าวคือ การจัดการความรู้จะใช้หลัก Management by Knowledge คือการจัดการธุรกิจโดยอาศัยความรู้ที่มีอยู่ทั้งในและนอกองค์กรมาใช้ในการจัดการและมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการจัดการความรู้ภายในองค์กร 1) ใช้เพื่อการสร้าง Infrastructure 2) ด้านการจัดการฐานข้อมูล (Database) 3) ใช้เพื่อนำมาสร้างเป็นเครื่องมือการจัดการความรู้ ทำให้องค์กรสามารถรักษาคุณภาพและความเป็นเลิศในธุรกิจ ส่งผลให้ธุรกิจขยายออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ ได้อย่างมั่นคง
หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น