Framework Management Tool Box ด้าน Planning : Stakeholder Analysis
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
“ผู้ (ควร) มีส่วนร่วม” หรือ “ผู้มีส่วนได้เสีย” หรือ “ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง” คำศัพท์คำว่า “stakeholder” ถูกริเริ่มและนำมาใช้ในการบริหารธุรกิจตั้งแต่ปี ค.ศ.1708 โดยมีความหมายว่า “ผู้เดิมพัน” (Bisset, 1998 อ้างอิงโดย Ramírez, 1999) ต่อมา Freeman (1984) ได้ให้คำจำกัดความที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง“stakeholder” คือ ผู้ที่สามารถดำเนินการ หรือสามารถได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำ คำว่า “stakeholder” มาใช้อย่างกว้างขวางไม่เฉพาะในงานด้านการบริหารธุรกิจ โดยมักจะใช้คำจำกัดความตาม Freeman (1984) หรือนำมาดัดแปลงและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกรณีศึกษา ซึ่งสามารถอ้างอิงรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก Mitchell et al. (1997), Ramírez (1999) และ Reedet al. (2009) นอกจากนี้ยังมีการนำคำศัพท์อื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกันมาใช้อีกด้วย เช่น “interest group” (กลุ่มเป้าหมาย) “actor” (ผู้ดำเนินการ/ผู้กระทำ) “user” (ผู้ใช้งาน) “party” (ผู้เข้าร่วมดำเนินการ) เป็นต้น
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
1. บ่งชี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล หน่วยงาน องค์กร เพื่อให้โอกาสกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการแสดงความคิดเห็น แนวคิด และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับองค์กรหรือโครงการ
2. เพื่อหาแนวทางในการบริหารความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3. เพื่อกระตุ้นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรหรือโครงการ
4. เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบที่องค์กรมีต่อสังคม
5. เพื่อแสดงจุดยืนให้สังคมเล็งเห็นว่าองค์กรมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้
6. เพื่อป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้าด้วยการวางแผนอย่างมีระบบ
ข้อดีของเครื่องมือ
1. ช่วยระบุความสนใจ (interests) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อองค์กร/โครงการทุกคน
2. ช่วยระบุประเด็นที่อาจส่งผลกระทบ (disrupt) ต่อองค์กร/โครงการ
3. ช่วยกำหนดบุคคลหลักที่ช่วยกระจายข่าวสารระหว่างการดำเนินงาน
4. ช่วยกำหนดกลุ่มคนที่มีบทบาทในการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน
5. ช่วยกำหนดแผนการสื่อสารและการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในขั้นตอนการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ
6. ช่วยกำหนดวิธีการในการลดและป้องกันผลกระทบเชิงลบ และวิธีการในการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีผลลบต่อการดำเนินงาน
ข้อเสียของเครื่องมือ
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนั้นไม่มีกระบวนการที่แน่นอนตายตัว ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่จะนำไปใช้ วัตถุประสงค์ รวมทั้งลำดับขั้นตอนที่จะทำการวิเคราะห์ภายใต้กระบวนการวิเคราะห์ปัญหาในภาพรวมทั้งหมด
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
วิธีการดำเนินงาน โดยการจำแนกภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโครงการออกเป็นส่วน ๆ เพื่อนำไปสู่การพิจารณาถึงมิติของบทบาทอิทธิพล (influence) กับความสำคัญ (importance)
- ระบุ stakeholder ส่วนที่องค์กรหรือกลุ่มต่าง ๆ ให้ครบถ้วน
- List รายชื่อคนและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน
- ขั้นตอนต่อไป ลอง plot องค์กรลงไปก่อนเป็นแบบที่หนึ่ง พร้อมอธิบายความเกี่ยวข้องของกลุ่ม / องค์กร / หน่วยงานแล้ว Plot รายชื่อคนลงไป พร้อมกับระบุความเกี่ยวข้องของตัวแทน / บุคคลที่มีบทบาท
- นำผลที่ได้ทั้งสองเรื่องมาวิเคราะห์ตามมิติของบทบาทอิทธิพลและระดับความสำคัญ รวมทั้งพิจารณาความสัมพันธ์ที่เรามีกับองค์กรและบุคคล ข้างต้นเพื่อเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะกำหนดงานที่จะทำให้กับองค์กรหรือคนเหล่านั้น
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
Stakeholder Communication LG
แอลจีอีเลคโทรนิคส์ไดัรักษาความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับหลายส่วนทั้งในและต่างประเทศ ใช้ความพยายามในการระบุและความคิดเห็นและความต้องการของทุกฝ่าย ผลลัพธ์ได้สะท้อนถึงการบริหารจัดการที่โปร่งใส ยิ่งไปกว่านั้น , แอลจีอีเลคโทรนิคส์มีความใส่ใจต่อสังคม – สังคมของลูกค้าและคู่ค้ารอบโลกโดยไม่มีความสิ้นสุด
พนักงาน
แอลจีอีเลคโทรนิคส์ได้จ้างพนักงานที่มีความสามารถ , ผู้ซึ่งได้พยายามท้าทายตนเอง ด้วยจิตใจเป็นธุรกิจและความคิดสร้างสรรค์ – การผสมผสานนี้ทำให้เกิดผลที่สูงสุด แอลจีได้ให้คุณค่าต่อพนักงานที่อุทิศตนทำงานหนัก ตระหนักว่าความสามารถในการแข่งขันคงอยู่ได้ด้วยการสนับสนุนและคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถในงานที่ให้
ลูกค้า
แอลจี อีเลคโทรนิคส์ได้พยายามที่จะดำเนินการระบบบริการลูกค้าโดยการฝึกอบรมวิศวกรบริการและใช้การประเมินผลจากลูกค้าซึ่งเน้นในการบรรลุเป้าหมายความพึงพอใจของลูกค้า โดยให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับแรก เหตุผลและวัตถุประสงค์เบื้องหลังงานของเรา เราได้นำตัวเราเข้าไปอยู่ในรองเท้าของลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ
ในการกระตุ้นและเริ่มต้นการแข่งขันที่เสรี แอลจีได้ทำงานอย่างหนักเพื่อดำเนินการ “โปรแกรมความร่วมมือการค้าอย่างเสรี” ขณะที่ทำการค้ากับคู่แข่งและผู้จำหน่าย สนับสนุนกิจกรรมเพื่อการเติบโตและปรับปรุงกิจการในเครือทั้งธุรกิจทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง และการจัดการโปรแกรมแอลจีสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
คู่ค้าทางธุรกิจ
ในการกระตุ้นและเริ่มต้นการแข่งขันที่เสรี แอลจีได้ทำงานอย่างหนักเพื่อดำเนินการ “โปรแกรมความร่วมมือการค้าอย่างเสรี” ขณะที่ทำการค้ากับคู่แข่งและผู้จำหน่าย สนับสนุนกิจกรรมเพื่อการเติบโตและปรับปรุงกิจการในเครือทั้งธุรกิจทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางและการจัดการโปรแกรมแอลจีสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น