วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

06 Framework Management Tool Box ด้าน Leading : Visioning

Framework  Management  Tool  Box  ด้าน Leading : Visioning
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์ เป็นศัพท์เฉพาะศาสตร์ (Technical Term) เกี่ยวกับการบริหารที่บัญญัติขึ้นจากคำว่า “VISION” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งความหมายทั่วไปแปลว่าการเห็น หรือ ภาพแต่ในทางการบริหาร วิสัยทัศน์ (VISION) หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ไกลที่สุด และชัดที่สุด
สรุปได้ว่า วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึง การมองภาพอนาคตของผู้นำและสมาชิกในองค์กร และกำหนดจุดหมายปลายทางที่เชื่อมโยงกับภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน แล้วมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการ จุดหมายปลายทางดังกล่าวต้องชัดเจน ท้าทาย มีพลังและมีความเป็นไปได้
สมมุติว่า V คือ วิสัยทัศน์ (VISION)
I คือ ภาพฝันในอนาคต (IMAGE) และ
A คือ การกระทำ (ACTION)
สามารถเขียนเป็นสมการได้ว่า V = I + A
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
วิสัยทัศน์ (Visioning) คือ กระบวนการกลั่นกรองค่านิยม ให้เกิดความชัดเจน มุ่งเน้นในพันธกิจ และมุ่งมั่นให้บรรลุผลตามวิสัยทัศน์ ขั้นตอนสำคัญในกระบวนการสร้างวิสัยทัศน์ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ประการ โดยเริ่มต้นจากการสร้างความชัดเจนให้กับค่านิยม การตรวจสอบสถานการณ์ปัจจุบัน การกำหนดพันธกิจ การสร้างวิสัยทัศน์ และการลงมือปฏิบัติ ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้
1.               ค่านิยม คือ ปณิธานของหน่วยงานเพื่อการไปสู่ความสำเร็จ เป็นพื้นฐานสำคัญของวัฒนธรรมหน่วยงานซึ่งทำให้ทิศทางการดำเนินงานของบุคลากรมีทิศทางเดียวกัน และเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
2.               การตรวจสอบ (Scanning) คือ การวินิจฉัยสิ่งแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกองค์กรการสร้างความเข้าใจในสภาพแวดล้อมที่หน่วยงานอยู่เป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการสร้างวิสัยทัศน์ ซึ่งการสำรวจสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบันประกอบด้วย
3.               พันธกิจ (Mission) คือ จุดประสงค์หลักที่หน่วยงานได้สร้างขึ้นมา โดยมีการระบุไว้อย่างชัดเจน กะทัดรัด และสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งมุ่งเน้นไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
4.               การสร้างวิสัยทัศน์ (Visioning) คือ วิถีสู่ความเป็นเลิศซึ่งหน่วยงานต้องการสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อสร้างโอกาสที่เป็นไปได้ที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต ด้วยการสร้างภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้เกิดการกระทำของบุคคล อันนำไปสู่ความเป็นไปได้นั้นๆ
5.               จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ (Implementation) ภายหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการสร้างวิสัยทัศน์แล้ว การวางแผนเพื่อการปฏิบัติจะเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการในการวิเคราะห์หาว่าหน่วยงานจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างจึงจะบรรลุถึงวัตถุประสงค์นั้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยชี้หนทางที่ดีที่สุดที่จะนำเราไปสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์
คุณลักษณะที่ดีของการสร้างวิสัยทัศน์มีด้วยกันหกประการ ได้แก่ 
1.               Imaginable หรือภาพฝันในอนาคต 
2.               Desirable หรือมีความดึงดูดและน่าสนใจสำหรับบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน 
3.               Feasible หรือมีโอกาสของความเป็นไปได้ 
4.               Focused หรือ มีความชัดเจนเพียงพอที่จะเป็นรากฐาน สำหรับการตัดสินใจที่สำคัญขององค์กร 
5.               Flexible หรือกว้างเพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
6.               Communicable หรือสามารถที่จะสื่อสารได้อย่างง่ายและชัดเจน
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
วิสัยทัศน์ เปรียบได้กับแม่ทัพที่มีกล้องส่องทางไกล เพื่อใช้ส่องดูความเป็นไปในสมรภูมิรบเบื้องหน้าว่าเป็นอย่างไร ควรใช้กลยุทธ์ใด ในการทาศึก จึงจะประสบชัยชนะ ดังนั้น ผู้บริการองค์กรที่ดี จาเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ เพื่อกำหนดทิศทางวางนโยบายและกลยุทธ์ของการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย
ข้อดีของเครื่องมือ
-                    ชี้ทิศทาง เป้าหมายในการทางานให้สำเร็จตามแผนที่วางไว้
-                    เป็นตัวกำหนดขอบข่ายของงาน หรือภาระหน้าที่
-                    ทำให้บุคลากรต้องทำงานให้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
-                     ต้องมีการสร้างขวัญกำลังและใจให้แก่ผู้ร่วมงาน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี
-                    ต้องมีการสร้างทีมงาน เพื่อให้การทางานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
การนำวิสัยทัศน์ไปใช้ได้ 4 ระดับ คือ

1.               ตนเองมองภาพอนาคต เกี่ยวกับ อาชีพการงาน เป็นการมองเพื่อตนเอง โดยการมองสภาพภายนอกรอบตัวหน้าที่การงาน หากมีอะไรเปลี่ยนแปลงจะปฏิบัติอย่างไร
2.               ตนเองมองภาพอนาคตเกี่ยวกับตนเอง เป็นการมองภายใน มองสุขภาพร่างกายและจิตใจจะพัฒนาร่างกายและจิตใจอย่างไร เป็นการย้อนดีจิตใจ ความผิดหวัง ความสมหวัง ซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจและจะสามารถทำงานภายใต้ความเครียดอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร จะพัฒนาอย่างไร ภายใต้สภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป
3.               การมองภาพอนาคตเกี่ยวกับองค์การ เป็นการศึกษาระบบบริหารที่เหมาะสมกับองค์การเป็นการศึกษาให้รู้ถึงสิ่งที่ เกิดขึ้น ที่มีผลกระทบต่อหน่วยงาน เช่นผลกระทบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ผลกระทบที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีต่อหน่วยงาน บุคลากร ในองค์การในกรณีเช่นนี้จะบริหารงานอย่างไร
4.               การมองภาพอนาคตเกี่ยวกับองค์การในระบบสังคมโลก ( Globalization ) เป็นการมองคู่แข่งจากประเทศต่างๆสินค้าที่ผลิตจากประเทศอื่น จะเป็นคู่แข่งจากบริษัทในประเทศใดก็ตาม ซึ่งถ้าผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีกว่า แต่ราคาถูกกว่า ก็จะได้เปรียบคู่แข่งอื่นๆเป็นต้น

มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
บริษัท ซีพีออล์ จำกัด (มหาชน)  วิสัยทัศน์  เราให้บริการความสะดวกกับทุกชุมชน
ธนาคารไทยพาณิชย์  วิสัยทัศน์  เราจะเป็น...”ธนาคารที่ลูกค้า   ผู้ถือหุ้น  พนักงานและสังคมเลือก”           
ดับเบิ้ลเอ  วิสัยทัศน์ ดั๊บเบิ้ล เอ มุ่งมั่นสู่การเป็นแบรนด์กระดาษคุณภาพของโลก สร้าง "กระดาษจากคันนา" เป็นมาตรฐานใหม่ที่ไม่เพียงมุ่งเน้นการผลิตกระดาษคุณภาพที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้ทั่วโลก แต่ยังใส่ใจตั้งแต่วิธีคิด วิธีผลิตกระดาษที่เน้นถึงความยั่งยืนและไม่ทำของเสียให้เสียของ


หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น