Framework Management Tool Box ด้าน Planning / Five Forces Analysis
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
ศาสตราจารย์ Michael E. Porter แห่ง Harvard Business School ได้เขียนหนังสือ Competitive Strategy : Techniques for Analyzing Industries and Competitors โดยใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและคู่แข่ง การทำความเข้าใจสภาพของอุตสาหกรรมนั้นนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมนั้นมีเกมการแข่งขันเป็นอย่างไรก็เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ให้กับองค์กรได้ถูกต้อง
Porter ได้เสนอ Model ที่ใช้ในการวิเคราะห์อุตสาหกรรมโดยให้ชื่อว่า Five Competitive forces model หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Five Forces
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
1. โอกาสในการเข้ามาแข่งขันของผู้แข่งขันหน้าใหม่
2. สภาพการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมของผู้แข่งขันรายเก่า อำนาจต่อรองของลูกค้า
3. อำนาจต่อรองของ Suppliers
4. อำนาจต่อรองของผู้บริโภค
5. การโจมตีของสินค้าทดแทนและโอกาสใหม่ ๆ จากสินค้าที่ใช้ควบคู่กับสินค้าเรา
Michael E. Porter
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
ใช้เพื่อประเมินสภาพของอุตสาหกรรม ว่าอุตสาหกรรมนั้นมีเกมการแข่งขันเป็นอย่างไรเพื่อกำหนดกลยุทธ์ให้กับองค์กรได้ถูกต้อง การวิเคราะห์นี้มีความจำเป็นสำหรับการจัดทำกลยุทธ์ขององค์กร เนื่องผู้บริหารไม่สามารถที่จะจัดทำกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จได้ ถ้าไม่มีความเข้าใจถึงลักษณะที่สำคัญของการแข่งขัน เพื่อที่จะหาความได้เปรียบออกมาหรือป้องกันตนเอง
ข้อดีของเครื่องมือ
- เป็นโมเดลที่ได้รับความนิยมสูงมาก และมีผู้นำไปใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวางเนื่องจากเห็นภาพโครงสร้างการแข่งขันทั้งหมดในอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้องค์กร สามารถกำหนดแผนกลยุทธ์ได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ทำให้ทราบภาวการณ์แข่งขันในอุตสาหกรรม รวมถึงความรุนแรงของแต่ละปัจจัย
- การวิเคราะห์อุตสาหกรรมจะช่วยในการบ่งชี้ถึงโอกาสและข้อจำกัดที่องค์กรจะต้องเผชิญ
ข้อเสียของเครื่องมือ
โมเดลนี้ชี้ให้เห็นเฉพาะด้านที่เป็นปัจจัยภายนอกองค์กรเท่านั้น ไม่ได้แตะถึงปัจจัยที่เป็นเรื่องภายในเลย
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
ทำการวิเคราะห์สภาวะการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ โดยการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่องค์กรธุรกิจนั้นอยู่ ทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่สำคัญ 5 ประประการที่มีผลต่อการทำกำไร
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
ทุกองค์กรขนาดใหญ่เกือบทุกบริษัทจะมีการจัดทำการวิเคราะห์ Five Forces model เช่น บริษัท ซี.พี. เซเวนอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) มีการนำทฤษฎี Five Forces Model มาให้ในการวิเคราะห์ดังนี้
1. โอกาสในการเข้ามาแข่งขันของผู้แข่งขันหน้าใหม่ มีคู่แข่งขันจำนวนมากและสามารถเข้ามาแข่งขันได้ง่าย
2. สภาพการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมของผู้แข่งขันรายเก่า ปัจจุบันธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อมีการแข่งขันสูง
3. อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ ผู้ซื้อมีอำนาจในการต่อรองกับ 7-11 น้อยและมีการจัดรายการที่น่าสนใจและมีร้านค้าปลีกที่อยู่ใกล้บ้านมากว่าร้านค้าปลีกอื่น ๆ จึงสามารถตอบสนองความต้องการได้ง่าย
4. อำนาจต่อรองของ Suppliers ไม่มีผลกระทบ 7-11 เลย เนื่องจาก 7-11 มีจำนวนสาขาจำนวนมากและมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งทำให้มีอำนาจต่อรองกับ suppliers สูงมาก
5. การโจมตีของสินค้าทดแทน (Substitutes) มีร้านค้าปลีกเล็กดั้งเดิมและร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ซึ่งเป็นคู่แข่งขันทางตรงที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เหมือน ๆ กัน มีพลังกดดันด้านสินค้าทดแทนค่อนข้างมาก
หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น