วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

02 ทฤษฎีการจัดการของ Henry L. Gantt


02.            Henry L. Gantt

Henry L. Gantt
ความเป็นมา  
        Gantt  เป็นวิศวกรเครื่องกลที่มีความคิดเช่นเดียวกับ Taylor และได้ทำงานร่วมงานกับ Taylor   ที่บริษัท Midvale Steel Commpany  ในปี  1887  และสร้างผลงานต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่วปี 1901  เขาได้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมของเขาเอง เขาเชื่อในแนวคิดการปฏิบัติการตามหลักวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับ Taylor โดย Gantt ทำงานเป็นที่ปรึกษาในบริษัทต่าง ๆ มากมายในการคัดเลือกคนงานแบบวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาระบบจูงใจด้วยโบนัส เขาเน้นความต้องการและความสนใจทั้งฝ่ายบริหารและคนงาน การร่วมมือกันอย่างกลมกลืน

           Gantt เป็นที่รู้จักดีที่สุดในการพัฒนาวิธีการอธิบายแผนโดยกราฟเรียกว่า ผังแกนต์ (Gantt Chart)  และสร้างการควบคุมการจัดการที่ดีขึ้น ส่วนต้นทุน เขาเน้นความสำคัญของเวลาเช่นเดียวกับต้นทุนในการวางแผนและการควบคุมงาน ทำให้ผัง Gantt มีชื่อเสียง และนำมาใช้อย่างกว้างขวางเป็นรูปแบบของเทคนิคในปัจจุบัน
โมเดลนี้ใช้เพื่อ
          gantt chart ใช้ในการวางแผนระยะเวลาที่ใช้ของงานแต่ละงานของโครงการ  เราจะเห็นรายละเอียดว่าโครงการนี้มีงานย่อยๆอะไรบ้าง และแต่ละงานใช้เวลาเท่าไหร่ งานไหนมาก่อนมาหลัง

gantt chart ใช้ในการวางแผนระยะเวลาที่ใช้ของงานแต่ละงานของโครงการ  เราจะเห็นรายละเอียดว่าโครงการนี้มีงานย่อยๆอะไรบ้าง และแต่ละงานใช้เวลาเท่าไหร่ งานไหนมาก่อนมาหลัง

       ข้อดีของโมเดล
             ทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบได้ง่ายขึ้น           
             เป็นเครื่องมือที่ใช้ประโยชน์ในการวางแผนและแสดงตารางเวลาของโครงการ
             เป็นเครื่องมือที่ช่วยติดตามความคืบหน้าของโครงการ
ข้อเสียของโมเดล
      ไม่สามารถบอกได้ว่าถ้ากิจกรรมที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเกิดความล่าช้า  แล้วจะมีผลกระทบกับกิจกรรม ที่เกิดขึ้นทีหลังอย่างไร
จัดทำอย่างไร
    1. แจกแจงรายละเอียดกิจกรรมของแผนงาน โดยแต่ละงานให้ระบุวันเริ่มต้น ประมาณการระยะเวลาที่ใช้ มีงานใดบ้างที่ต้องเริ่มพร้อมกัน หรือมีงาน ใดบ้างที่ลำดับก่อนหลัง ซึ่งหากมีลำดับต้องระบุความสัมพันธ์ไว้ด้วย
    2. สร้าง Gantt Chart 
    3. วิเคราะห์การใช้ทรัพยากรของกิจกรรมต่าง ๆ  ว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่
ปัจจุบันได้มีการใช้โมเดลนี้กันอย่างแพร่หลาย โดยนำ Microsoft Project
หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น