วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

07 Organizing : Corporate Social Responsibility (CSR)

Organizing : Corporate Social Responsibility (CSR)

หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
 ปัจจุบันแนวคิดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดด้านการให้ต่อสังคมโดยภาคธุรกิจนั้นก็คือสิ่งที่เรียกกว่า การรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (Corporate social responsibility)’ ซึ่งเป็นแนวคิดทางธุรกิจที่กำลังกลายเป็นกระแสไปทั่วโลก 
 “CSR เป็นเรื่องของการที่องค์กรตอบสนองต่อประเด็น ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งที่การให้ ประโยชน์กับ คน ชุมชน และสังคม   นอกจากนั้น ยังเป็นเรื่องของบทบาท ขององค์กรธุรกิจในสังคม และความคาดหวังของสังคมที่มีต่อองค์กรธุรกิจ  โดยจะต้องทำด้วยความสมัครใจ และผู้บริหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ โดยสามารถวัดผลได้ใน 3 มิติ คือ การวัดผลทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
 CSR  เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า Corporate Social Responsibility (CSR) หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงบรรษัท หมายถึง การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
องค์ประกอบสำคัญหลากมิติของงาน CSR
1.               มิติภายในของกระบวนการดำเนินธุรกิจ (In process  CSR)
2.               การเลือก Supplier  
3.               การดูแลผู้บริโภค 
4.               บทบาทต่อชุมชนและสังคม 
5.               การดูแลโลก  
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
บบของ CSR
ข้อดีของเครื่องมือ
-                    กลุ่มคนต่างๆในสังคมให้การยอมรับ
-                    องค์กรจะได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนแม้เกิดภาวะวิกฤต
-                    เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่องค์กร
-                    สร้างจุดแข็งทางการตลาดสร้างภาพลักษณ์ ชื่อเสียงให้แก่องค์กร
-                    เพิ่มยอดขายและสัดส่วนทางการตลาดให้แก่องค์กร
-                    ลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานขององค์กร
-                    สามารถดึงดูด รักษา พนักงานที่มีคุณภาพให้อยู่กับองค์กรได้นาน
-                    สื่อมวลชนให้ความร่วมมือในการนำเสนอข่าวสารด้าน CSR
-                    สร้างแรงดึงดูดใจให้กับนักธุรกิจ นักลงทุน และนักการเงิน
-                    องค์กรมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานสำคัญๆของรัฐ
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                    ทำ CSR แนวกว้าง หลายประเด็น ไม่ลงลึก ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง
-                    ผู้บริหารไม่สนับสนุน มองเป็นต้นทุนเพิ่มขึ้น ไม่แน่ใจผลที่จะได้รับ
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
1.               ควรเริ่มกิจกรรม CSR จากภายในสู่ภายนอก Inner CSR
2.               ควรปลูกฝังค่านิยมเรื่องของการช่วยเหลือ การแบ่งปัน ความรับผิดชอบ ให้แก่พนักงานในองค์กร
3.               สร้างทีมงาน CSR ประกอบด้วยบุคคลากรจากหลายฝ่ายช่วยกัน
4.               เขียนแผนงานด้าน CSR อย่างเป็นขั้นตอน พร้อมกำหนดผู้รับผิดชอบโดยตรง สามารถติดตามประเมินผลได้
5.               วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสขององค์กร เพื่อหาประเด็นทำ CSR
6.               ควรสร้างประเด็น CSR ที่สอดคล้องสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจ
7.               ประเด็น CSR มีเพียง 2-4 ประเด็น ไม่กระจัดกระจาย
8.               สร้างกิจกรรม CSR กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆขององค์กร
9.               ระบุให้ชัดเจนว่ากิจกกรมนั้นมุ่ง target กลุ่มไหน
10.         กำหนดวัตถุประสงค์ของการทำ CSR ให้ชัดเจนและแจ้งให้พนักงานทราบเพื่อให้ได้ความร่วมมือจากพนักงาน
11.         ต้องเข้าใจแนวคิด CSR เข้าใจแก่น และเน้นทำ CSR แบบยั่งยืน
12.         ควรทำกิจกรรม CSR อย่างต่อเนื่อง
13.         ไม่ควรคิดทำ CSR เพียงเพื่อต่อยอด สร้างแบรนด์เท่านั้น
14.         ควรทำ CSR ในเชิงรุก (ไม่ใช่รอให้ปัญหาเกิดแล้วค่อยแก้ไข)
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
                ได้มีการจัดทำการกันอย่างแพร่หลาย  ยกตัวอย่างเช่นบริษัท   ปตท. จำกัด (มหาชน)  ได้จัดกิจกรรมและประโยชน์ต่อสังคม  ดังนี้
1.               โครงการปลูกหญ้าแฝก  
2.               รางวัลลูกโลกสีเขียว  
3.               โครงการค่ายเยาวชนอนุรักษ์พลังงาน Generation P  

หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น