วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

11 Framework Management Tool Box ด้าน Planning : Benchmarking


Framework  Management  Tool  Box ด้าน Planning : Benchmarking
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
การทำ Benchmarking ญี่ปุ่นทำมานั้นแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ในรูปของการศึกษาดูงาน คนงานอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่นได้ศึกษาดูงานในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป เพื่อศึกษากระบวนการผลิตนำมาปรับปรุงอุตสาหกรรมของตน ซึ่งขณะนั้นยังไม่พัฒนาและสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมได้สำเร็จภายในทศวรรษเดียว 
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
Benchmarking  คือ การศึกษาเปรียบเทียบผู้ที่เก่งที่สุดดีที่สุด เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาความสามารถของตน หรือพัฒนาองค์กรของตน  จะช่วยประหยัดเวลาและลดการลองผิดลองถูก Benchmarking จึงเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
                   เพื่อความยั่งยืนขององค์กร : ยกระดับความสามารถของตนเองเพื่อให้แข่งขันได้ จึงต้องมีการเรียนรู้และปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่อง
                   เพื่อการปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด : เป็นเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นนวัตกรรม (Innovation) ในองค์กร ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงปรับปรุงในระยะเวลาอันสั้น
ข้อดีของเครื่องมือ
1.             นำข้อมูลมาปรับปรุงองค์กรของตน เพื่อเกิดแนวทางในการปรับปรุงกลยุทธ์ด้านต่างๆ
2.              เห็นภาพรวมขององค์กรชัดเจนและ เกิดการเรียนรู้สิ่งที่ดีๆ จากหน่วยงานอื่น
3.             เกิดความพร้อมในการรับสภาพต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
ข้อเสียของเครื่องมือ
1.             บุคลากรต้องรู้รายละเอียดองค์กรอย่างดี เพื่อจะได้ทราบว่าตนมีจุดเด่น หรือจุดด้อยอย่างไร
2.              ต้องเลือกองค์กรที่ได้รับการยอมรับ เพื่อจะได้นำจุดดีมาปรับปรุง
3.             ข้อมูลที่เป็นความลับทางองค์กร ค่อนข้างจะหายาก
4.             ในบางครั้งอาจต้องใช้ระยะเวลานาน งบประมาณสูง
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ
            1. การวางแผน
                - กำหนดเรื่องที่จะทำ Benchmarking
                - กำหนดผู้ที่ต้องการเปรียบเทียบด้วย
                - กำหนดวิธีการเก็บข้อมูล และเก็บข้อมูล
2. การวิเคราะห์
                - วิเคราะห์ความแตกต่าง (Gap) ปัจจุบัน
                - ประมาณแนวโน้มความแตกต่างในอนาคต
            3. การบูรณาการ
                - สื่อผลการวิเคราะห์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                - ตั้งเป้าหมาย (Function Goals)
            4. การปฏิบัติ
                - จัดทำแผนปฏิบัติการ
                - นำไปปฏิบัติจริงและติดตามผล
                - ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

                                                                                   กระบวนการ Benchmarking

มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
บริษัท Xerox  ในสหรัฐอเมริกานำ Benchmarking มาใช้พัฒนาองค์กรของตนที่สูญเสียตลาดไป ทำให้บริษัท Xerox  กลับมาเป็นเจ้าตลาดเครื่องถ่ายเอกสารอีกครั้งในเวลาอันรวดเร็วและทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
องค์กรอื่น เช่น AT&T, Dupont, General Electric, General Motor, Miliken, Motorola  

หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น