Framework Management Tool Box ด้าน Planning : Product Life Cycle : PLC
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
แนวคิดเกี่ยวกับวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์เป็นความพยายามในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างยอดขาย กำไร ลูกค้า และคู่แข่งขัน ตลอดระยะเวลาของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์นั้น ความรู้และความเข้าใจในลักษณะของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ของนักการตลาด จะช่วยให้กิจการสามารถพัฒนาส่วนประสมการตลาดได้ถูกต้อง
วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product life cycle : PLC) หมายถึง เป็นประวัติการเติบโตของยอดขายและกำไรของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นวงจรเล่าต่อไปเรื่อย ๆ
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
Framework Management Tool Box ด้าน Planning : Product Life Cycle : PLC
Framework Management Tool Box ด้าน Planning : Product Life Cycle : PLC
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
แนวคิดเกี่ยวกับวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์เป็นความพยายามในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างยอดขาย กำไร ลูกค้า และคู่แข่งขัน ตลอดระยะเวลาของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์นั้น ความรู้และความเข้าใจในลักษณะของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ของนักการตลาด จะช่วยให้กิจการสามารถพัฒนาส่วนประสมการตลาดได้ถูกต้อง
วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product life cycle : PLC) หมายถึง เป็นประวัติการเติบโตของยอดขายและกำไรของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นวงจรเล่าต่อไปเรื่อย ๆ
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
1. ขั้นแนะนำ (Introduction) เป็นช่วงการเจริญเติบโตช้า เนื่องจากผลิตภัณฑ์เริ่มแนะนำในตลาดและขาดทุนเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายมากและยอดขายยังต่ำมาก
1. ขั้นแนะนำ (Introduction) เป็นช่วงการเจริญเติบโตช้า เนื่องจากผลิตภัณฑ์เริ่มแนะนำในตลาดและขาดทุนเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายมากและยอดขายยังต่ำมาก
2. ขั้นเจริญเติบโต (Growth) เป็นช่วงที่ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการปรับตัวด้านกำไรอย่างมาก
3. ขั้นอิ่มตัว หรือเติบโตเต็มที่ (Maturity) เป็นช่วงที่ยอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเนื่องจากผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จจากผู้ซื้ออย่างเต็มที่อยู่แล้ว เป็นช่วงกำไรสูงสุดและเริ่มลดลงเนื่องจากค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการต่อสู้กับคู่แข่ง
4. ขั้นถดถอย (Decline) เป็นช่วงระยะที่ยอดขาดที่ลดลงและกำไรลดลงเรื่อย ๆ เข้าสู่ระดับ 0
การศึกษารายละเอียดของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์จะมีประโยชน์ต่อนักการตลาดและนักธุรกิจ การเรียนรู้ความต้องการของลูกค้าหรือผู้ซื้อที่มีต่อผลิตภัณฑ์ จากการวิเคราะห์ลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละขึ้นตอนช่วยให้สามารถวางแผนการตลาด กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด กำหนดส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) ได้ถูกต้องและเหมาะสม
ข้อดีของเครื่องมือ
ช่วยให้นักการตลาดจะต้องวางแผนการตลาดและการสื่อสารการตลาดอย่างดีที่สุดเพื่อไม่ให้ผลิตภัณฑ์ของตนต้องลงไปอยู่ในช่วงของขั้นตกต่ำ อันจะนำความเสียหายมาสู่กิจการได้
ข้อเสียของเครื่องมือ
ผลิตภัณฑ์ อาจเกิดความไม่แน่นอนเสมอไปที่ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างจะต้องมีจุดจบตามช่วงวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์เสมอไป บางครั้งผลิตภัณฑ์บางอย่างสามารถเริ่มต้นใหม่ด้วยการหาตำแหน่งใหม่ได้นั่นก็คือ อยู่ที่กลยุทธ์ของแต่ละกิจการในการรักษาตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ของตนเอาไว้ให้คงอยู่ในระดับช่วงเวลาที่สูงสุดของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ได้ตลอดไป
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
ทุกองค์กรขนาดใหญ่จะมีการจัดทำการวิเคราะห์ Product life cycle เกือบทุกบริษัท เช่น The Pizza อยู่ใน Product life cycle (PLC) ช่วงอิ่มตัว หรือเจริญเติบโตเต็มที่ พิจารณาจาก ยอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ความต้องการของผู้บริโภคเริ่มอิ่มตัว ดูจากตลาดรวมในกรณีศึกษาได้บอกไว้ว่า เริ่มถึงจุดอิ่มตัว ยอดขายจะสูงสุดในขั้นนี้ แต่เนื่องจากเดอะพิซซ่า มีการปรับปรุงโดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาด ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Modified) และการพัฒนาตลาด (Market Development) ทำให้สามารถสร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการยืดอายุผลิตภัณฑ์ (life cycle extension)
1. ขั้นแนะนำ (Introduction) เป็นช่วงการเจริญเติบโตช้า เนื่องจากผลิตภัณฑ์เริ่มแนะนำในตลาดและขาดทุนเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายมากและยอดขายยังต่ำมาก
2. ขั้นเจริญเติบโต (Growth) เป็นช่วงที่ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการปรับตัวด้านกำไรอย่างมาก
3. ขั้นอิ่มตัว หรือเติบโตเต็มที่ (Maturity) เป็นช่วงที่ยอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเนื่องจากผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จจากผู้ซื้ออย่างเต็มที่อยู่แล้ว เป็นช่วงกำไรสูงสุดและเริ่มลดลงเนื่องจากค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการต่อสู้กับคู่แข่ง
4. ขั้นถดถอย (Decline) เป็นช่วงระยะที่ยอดขาดที่ลดลงและกำไรลดลงเรื่อย ๆ เข้าสู่ระดับ 0
การศึกษารายละเอียดของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์จะมีประโยชน์ต่อนักการตลาดและนักธุรกิจ การเรียนรู้ความต้องการของลูกค้าหรือผู้ซื้อที่มีต่อผลิตภัณฑ์ จากการวิเคราะห์ลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละขึ้นตอนช่วยให้สามารถวางแผนการตลาด กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด กำหนดส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) ได้ถูกต้องและเหมาะสม
ข้อดีของเครื่องมือ
ช่วยให้นักการตลาดจะต้องวางแผนการตลาดและการสื่อสารการตลาดอย่างดีที่สุดเพื่อไม่ให้ผลิตภัณฑ์ของตนต้องลงไปอยู่ในช่วงของขั้นตกต่ำ อันจะนำความเสียหายมาสู่กิจการได้
ข้อเสียของเครื่องมือ
ผลิตภัณฑ์ อาจเกิดความไม่แน่นอนเสมอไปที่ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างจะต้องมีจุดจบตามช่วงวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์เสมอไป บางครั้งผลิตภัณฑ์บางอย่างสามารถเริ่มต้นใหม่ด้วยการหาตำแหน่งใหม่ได้นั่นก็คือ อยู่ที่กลยุทธ์ของแต่ละกิจการในการรักษาตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ของตนเอาไว้ให้คงอยู่ในระดับช่วงเวลาที่สูงสุดของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ได้ตลอดไป
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
ทุกองค์กรขนาดใหญ่จะมีการจัดทำการวิเคราะห์ Product life cycle เกือบทุกบริษัท เช่น The Pizza อยู่ใน Product life cycle (PLC) ช่วงอิ่มตัว หรือเจริญเติบโตเต็มที่ พิจารณาจาก ยอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ความต้องการของผู้บริโภคเริ่มอิ่มตัว ดูจากตลาดรวมในกรณีศึกษาได้บอกไว้ว่า เริ่มถึงจุดอิ่มตัว ยอดขายจะสูงสุดในขั้นนี้ แต่เนื่องจากเดอะพิซซ่า มีการปรับปรุงโดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาด ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Modified) และการพัฒนาตลาด (Market Development) ทำให้สามารถสร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการยืดอายุผลิตภัณฑ์ (life cycle extension)
หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น