วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ตอนที่ 4 (ฉบับต่อ) แผนกลยุทธ์เชิงปริมาณ QSPM: Quantitative strategic planning matrix


Strategic Position Action Evaluation (SPACE  Matrix)
            แมททริกซ์ประเมินกลยุทธ์และตำแหน่ง (Strategic  Position Action Evaluation หรือ SPACE  Matrix  เป็นเทคนิคในการสร้างทางเลือกกลยุทธ์ในระดับบริษัทที่ผู้วิเคราะห์ต้องการให้ความสำคัญต่อสถานะทางการเงิน  การได้เปรียบในการแข่งขัน  ความสามารถของธุรกิจในอุตสาหกรรมและความมั่งคงของสภาพแวดล้อม        การใช้แมททริกซ์ประเมินกลยุทธ์และตำแหน่งสามารถพิจารณาจากขั้นตอนดังนี้
            ขั้นตอนที่ 1  พิจารณาปัจจัยเพื่อนำไปใช้ในการเปรียบเทียบและปัจจัยที่ใช้ได้แก่  ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาหรือประเมินกลยุทธ์มีปัจจัยพิจารณา 4 ปัจจัย คือ (Cart and Frank, 1978)
1. ปัจจัยภายใน 
1.1        จุดแข็งทางการเงิน (Financial  Strength)
1.2        ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitor  Advantage)

2. ปัจจัยภายนอก
2.1        ความมั่นคงของสภาพแวดล้อม (Environment  Stability)
2.2        จุดแข็งของอุตสาหกรรม (Industry  Strength)
เมื่อผู้วิเคราะห์ทำการกำหนดระดับความสำคัญของแต่ละปัจจัยแล้ว ผู้วิเคราะห์จะต้องนำปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้มากำหนดกลยุทธ์โดยกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นจากการนำปัจจัยทั้ง 4 มาวิเคราะห์ขั้นตอนที่ 2 ต่อไป

ปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการวิเคราะห์  SPACE matrix
จุดแข็งทางการเงิน (FS)
-                   ผลตอบแทนจากการลงทุน
-                   ค่าใช้จ่าย
-                   หนี้สิน
-                   ต้นทุนเงินเงินทุน
-                   งบกระแสเงินสด
-                   การออกจากตลาด
-                   ความเสี่ยงในธุรกิจ
ความมั่นคงของสภาพแวดล้อม (ES)
-                    การเปลี่ยนเทคโนโลยี
-                   อัตราเงินเฟ้อ
-                   ตัวแปรความต้องการอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดการกำหนดราคาของคู่แข่งขัน
-                   แรงกดดันจากคู่แข่งขัน
-                   ความยืดหยุ่นของราคา


ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (CA)
-                   ส่วนแบ่งทางการตลาด
-                   วงจรผลิตภัณฑ์
-                   ความภักดีของลูกค้า
-                   ความรู้ทางเทคโนโลยี
-                   การควบคุมผู้จำหน่ายวัตถุดิบและตัวแทนจำหน่าย
จุดแข็งของอุตสาหกรรม (IS)
-                   แนวโน้มการเจริญเติบโต
-                   แนวโน้มการทำกำไร
-                   การใช้ทรัพยากร
-                   เงินทุนเพิ่มขึ้น
-                   การเข้าตลาดได้ง่าย
-                   การใช้กำลังผลิต
ติดตามต่อในบล็อคถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น