วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ตอนที่ 4 (ฉบับต่อ) แผนกลยุทธ์เชิงปริมาณ QSPM: Quantitative strategic planning matrix


Source : (David, 2003)



เป็นขั้นตอนการจับคู่ เพื่อให้จับคู่ได้อย่างเหมาะสมระหว่างทรัพยากรภายในและทักษะ กับโอกาสและความเสี่ยงที่สร้างโดยปัจจัยภายนอกองค์กร


SWOT  Matrix
   เป็นการพิจารณาจากการที่นำมาผลจากการวิเคราะห์ SWOT  ที่ได้ทำการวิเคราะห์ไว้แล้วนำมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจ  เป็นแมททริกซ์ที่แสดงให้เห็นถึงโอกาส (Opportunities)  และอุปสรรค (Threats)  จากภายนอกบริษัทที่สัมพันธ์กับจุดแข็ง  (Strength)  และจุดอ่อน  (Weaknesses)  ภายในบริษัท  โดยมีทางเลือกกลยุทธ์ 4 ทางเลือก  ซึ่งเกิดจากการจับคู่ระหว่างปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในดังนี้ (1)  กลยุทธ์ SO  (SO  Strategy)  (2)  กลยุทธ์ ST (ST  Strategy)  (3)  กลยุทธ์ WO (WO  Strategy)  (2)  กลยุทธ์ WT (WT  Strategy) 
 บริษัทจะทำการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน  ตลอดจนวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก  การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยนั้นจะทำให้ได้ทางเลือก 4 ทางเลือก  ซึ่งจะใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันเพื่อให้สอดคล้องกับแต่ละสถานการณ์  โดยกำหนดให้ (1)  T  แทน อุปสรรค (Threats)  (2)  O  แทน  โอกาส (Opportunities)  (3) W แทน จุดอ่อน (Weaknesses) (4)  S แทน  จุดแข็ง (Strength)  โดยทั่วไปแมททริกซ์จะเริ่มต้นที่อุปสรรค (Threats)  เพราะในหลายสถานการณ์การวางแผนกลยุทธ์เป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ด้านปัญหาหรืออุปสรรค  โดยแกนนอนแทนจุดแข็งและจุดอ่อนภายใน  ส่วนแกนตั้งแทนโอกาสและอุปสรรคจากภายนอก  โดยมีรายละเอียดดังนี้ 
SWOT Matrix Table

    ปัจจัยภายใน


    ปัจจัยภายนอก
จุดแข็ง (Strengths)
1 ………………………
………………………
………………………

จุดอ่อน (Weaknesses)
1………………
2 ………………
3 ………………

โอกาส (Opportunities)
1 …………………
2 …………………
3 …………………

SO
มีจุดแข็งและมีโอกาส
กลยุทธ์รุกราน
(Aggressive  strategy)
WO
มีจุดอ่อนและมีโอกาส
กลยุทธ์การอนุรักษ์
(Conservative strategy)
อุปสรรค (Threats)
1 …………………
2 …………………
3 ……………….....
ST
มีจุดแข็งและมีอุปสรรค
กลยุทธ์การแข่งขัน
 (Competitive  strategy)
WT
มีจุดอ่อนและมีอุปสรรค
กลยุทธ์การตั้งรับ
 (Defensive strategy)

1.    กลยุทธ์ SO (SO  strategy)  เป็นตำแหน่งหรือสถานการณ์ที่เป็นเป้าหมายของทุกบริษัท  โดยบริษัทจะใช้จุดแข็งและข้อได้เปรียบจากโอกาส  ถ้ามีจุดอ่อนก็พยายามแก้ไขเพื่อให้เปลี่ยนเป็นจุดแข็ง  ถ้าเผชิญอุปสรรคก็ต้องพยายามเปลี่ยนเป็นให้โอกาส  ในกรณีนี้บริษัทจะใช้  จุดแข็งที่มีเพื่อสร้างข้อได้เปรียบจากโอกาส

กลยุทธ์ SO  ถือว่าอยู่ในตำแหน่งการรุกราน  (Aggressive)  กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือ
-                   การเจาะตลาด  (Market  penetration)
-                   การพัฒนาตลาด  (Market  development)
-                   การพัฒนาผลิตภัณฑ์  (Product  development)
-                   การรวมตัวไปข้างหลัง  (Backward  integration)
-                   การรวมตัวไปข้างหน้า  (Forward  integration)
-                   การรวมตัวไปแนวนอน  (Horizontal  integration)
-                   การกระจายธุรกิจที่แตกต่างไปจากเดิม  (Conglomerate  diversification)
-                   การกระจายธุรกิจสู่ศูนย์กลาง  (Concentric  diversification)
-                   การกระจายธุรกิจในแนวนอน  (Horizontal diversification)
-                   กลยุทธ์ผสม  (Combination)

2.    กลยุทธ์ WO (WO  strategy)  เป็นสถานการณ์ที่ธุรกิจพยายามให้มีจุดอ่อนต่ำสุดและมีโอกาสสูงสุด  ดังนั้นธุรกิจที่มีจุดอ่อนในบางกรณีจะต้องพยายามหาวิธีแก้ไข  โดยการใช้ข้อได้เปรียบจากเทคโนโลยีหรือบุคลากรที่มีทักษะจากภายนอกในการพัฒนาองค์กร  ในกรณีนี้บริษัทจะพยายามแก้ไขจุดอ่อนและสร้างข้อได้เปรียบจากโอกาส

กลยุทธ์ WO  ถือว่าอยู่ในตำแหน่งการอนุรักษ์  (Conservatiive)  กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือ
-                   การเจาะตลาด  (Market  penetration)
-                   การพัฒนาตลาด  (Market  development)
-                   การพัฒนาผลิตภัณฑ์  (Product  development)
-                   การกระจายธุรกิจสู่ศูนย์กลาง  (Concentric  diversification)

3.    กลยุทธ์ ST (ST  strategy)  เป็นสถานการณ์ที่ธุรกิจมีจุดแข็งและมีอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก  เป้าหมายของบริษัท คือ พยายามให้มีจุดแข็งสูงสุดและมีอุปสรรคต่ำสุด  ดังนั้นบริษัทอาจใช้จุดแข็งด้านเทคโนโลยี  การเงิน การบริหารจัดการหรือการตลาด  เพื่อขจัดอุปสรรคจากคู่แข่งขัน  ในกรณีนี้บริษัทจะใช้จุดแข็งเพื่อหลีกเลี่ยงหรือเอาชนะอุปสรรคให้ได้

กลยุทธ์ ST  ถือว่าอยู่ในตำแหน่งการแข่งขัน  (Competitive)  กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือ
-                   การเจาะตลาด  (Market  penetration)
-                   การพัฒนาตลาด  (Market  development)
-                   การพัฒนาผลิตภัณฑ์  (Product  development)
-                   การรวมตัวไปข้างหลัง  (Backward  integration)
-                   การรวมตัวไปข้างหน้า  (Forward  integration)
-                   การรวมตัวไปแนวนอน  (Horizontal  integration)
-                   การร่วมลงทุน  (Joint  venture)

4.    กลยุทธ์ WT (WT  strategy)  เป็นสถานการณ์ที่ธุรกิจมีจุดอ่อนและมีอุปสรรค  โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างจุดแข็งและขจัดอุปสรรคให้ต่ำที่สุด  โดยบริษัทอาจใช้วิธีร่วมทุน (Joint  venture)  การลดค่าใช้จ่าย (Retrench)  การเลิกผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีกำไร (Liquidate)  ในกรณีนี้บริษัทจะพยายามสร้างจุดแข็งและเอาชนะอุปสรรคให้ได้

กลยุทธ์ WT  ถือว่าอยู่ในตำแหน่งตั้งรับ  (Defensive)  กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือ
-                   การไม่ลงทุน (Divestiture)
-                   การเลิกดำเนินการ  (Liquidation)
-                   การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ (Harvest)
-                   การปรับเปลี่ยน (Turnaround)
-                   การล้มละลาย  (Bankruptcy)

ติดตามในบล็อคถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น