วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ตอนที่ 4 แผนกลยุทธ์เชิงปริมาณ QSPM: Quantitative strategic planning matrix




First  stage  :  Entering  stage






External   Factor  Evaluation  (EFE)  Matrix
CPM  :  Competitive  Profile  Matrix
Internal  Factor  Evaluation  Matrix



Second stage  :  Comparison  stage



 SWOT  Matrix
Strategic  Position Action Evaluation (SPACE) Matrix
Boston  Consultation group (BCG) Matrix
Internal / External (IE) Matrix
Grand  Strategy  Matrix



Third stage  :  Decision making  stage



Source : (David, 2003)
QSPM  :  Quantitative  Strategic planning  Matrix  ในการกำหนดกลยุทธ์  มีขั้นตอนการวิเคราะห์3 ขั้นตอน

           ขั้นตอนที่  1  ขั้นตอนปัจจัยนำเข้า (Entering  Stage)
           ขั้นตอนที่  2  ขั้นตอนการจับคู่  (Comparison  Stage)
           ขั้นตอนที่  3  ขั้นตอนการตัดสินใจ   มีเทคนิคที่ใช้ (Decision  Making  Stage) ได้แก่ แผนกลยุทธ์เชิงปริมาณ QSPM: Quantitative strategic planning matrix ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ปฏิบัติในการจัดลำดับกลยุทธ์ โดยวิเคราะห์จากกลยุทธ์ที่เลือกมาด้วยวิธีต่างๆ ในขั้นจับคู่

                                                                 Source : (David, 2003)
เป็นขั้นตอนปัจจัยนำเข้า  เป็นขั้นตอนแสดงข้อมูลรายละเอียดในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาวะแวดล้อมภายในและโครงร่างการแข่งขัน  ประกอบด้วย 3 แมทริกซ์
1.  แมทริกซ์การประเมินปัจจัยภายใน (Internal  Factor  Evaluation  Matrix : IFE)  เป็นแมทริกซ์ที่ประเมินและให้น้ำหนักปัจจัยภายใน  จุดแข็ง (Strength)  จุดอ่อน  (Weakness)  ขององค์กร  มี 5 ขั้นตอนดังนี้ 
(1)  ปัจจัยภายในที่สำคัญ (Critical  internal  factors) ประกอบด้วย
-                   ปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง  เช่น  คุณภาพและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ  ความสามารถในการหารายได้และทำกำไร ฯลฯ
-                   ปัจจัยที่เป็นจุดอ่อน  เช่น  การขาดสภาพคล่องทางการเงิน  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้บริหารระดับสูง ฯลฯ
(2)  การถ่วงน้ำหนัก (Weight)  โดยพิจารณาความสำคัญของปัจจัยด้านอุตสาหกรรมและการแข่งขันว่าแต่ละรายการมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด  โดยกำหนดช่วงน้ำหนักของแต่ละปัจจัยจาก 0.1 – 1 กล่าวคือ  0.0  ไม่มีความสำคัญเลย  ส่วน 1.0  มีความสำคัญมากที่สุด  คะแนนน้ำหนักรวมของทุกปัจจัยจะมีค่าเท่ากับ 1
(3)  การให้คะแนนความสามารถขององค์กร (Rating)  การประเมิน 1,2,3,4 ใช้เกณฑ์ประเมินดังนี้
-                   แสดงถึง  จุดอ่อนหลัก  (Major  weaknesses)
-                   แสดงถึง  จุดอ่อนรอง (Minor  weaknesses)
-                   แสดงถึง  จุดแข็งรอง (Minor  strength)
-                   แสดงถึง  จุดอ่อนหลัก (Major  strength)
(4)  คะแนนถ่วงน้ำหนัก (Weighted score) น้ำหนักของแต่ละปัจจัยจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวแปร
(5)  ค่าคะแนนรวม  เป็นคะแนนรวมจากคะแนนถ่วงน้ำหนักทั้งหมดของทุกตัวแปร (คะแนนถ่วงน้ำหนักของแต่ละตัวแปร  คำนวณโดยน้ำหนักของแต่ละตัวแปรคูณด้วยคะแนนการประเมิน)
 การประเมินตัวเลข  1 =  จุดอ่อนหลัก,  2 =  จุดอ่อนรอง,  3 จุดแข็งรอง,  4 =  จุดแข็งหลัก  คะแนนถ่วงน้ำหนักรวมของแมททริกซ์การประเมินปัจจัยภายใน (IFE matrix)  จะอยู่ระหว่าง  1.0 – 4.0   นั่นคือ 2.5 แสดงว่าอยู่ระหว่างค่าเฉลี่ย ถ้าน้อยกว่า 2.5  แสดงว่าองค์กรนั้นอยู่ในตำแหน่งจุดอ่อน  ถ้ามากกว่า 2.5 แสดงว่าอยู่ในตำแหน่งที่เป็นจุดแข็ง

 2.  แมทริกซ์การประเมินปัจจัยภายนอก (External  Factor Evaluation Matrix : EFE) การประเมินภายนอกเป็นการวิเคราะห์ถึงโอกาส (opportunities)  และอุปสรรค (threat)  เป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ  เช่น  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ  สังคม  เทคโนโลยีและกฎหมาย  โดยมี 5 ขั้นตอนดังนี้
(1)  ปัจจัยที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกที่สำคัญ (Critical  external  factors)   ประกอบด้วย
-                   ปัจจัยที่เป็นโอกาส
-                   ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค
(2)  น้ำหนัก (Weight)  โดยพิจารณาความสำคัญของปัจจัยชี้ให้เห็นความสำคัญของแต่ละปัจจัย  ว่าเป็นปัจจัยที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว โดยกำหนดช่วงน้ำหนักของแต่ละปัจจัยจาก 0.1 – 1 กล่าวคือ  0.0  ไม่มีความสำคัญเลย  ส่วน 1.0  มีความสำคัญมากที่สุด  คะแนนน้ำหนักรวมของทุกปัจจัยจะมีค่าเท่ากับ 1
(3)  การประเมิน  (rating)  การประเมิน 1,2,3,4 ใช้เกณฑ์ประเมินดังนี้
-                   แสดงถึง  โอกาสน้อย  หรืออุปสรรคมาก  (Response is poor)
-                   แสดงถึง  โอกาสที่เท่ากับค่าเฉลี่ย  (Response is average)
-                   แสดงถึง  โอกาสที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย  (Response is above average)
-                   แสดงถึง  โอกาสที่ดีมาก  (Response is superior)
(4)  คะแนนการประเมิน (Weighted score) น้ำหนักของแต่ละปัจจัยจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวแปร
(5)  คะแนนรวม เป็นคะแนนรวมจากคะแนนถ่วงน้ำหนักทั้งหมดของทุกตัวแปร (คะแนนถ่วงน้ำหนักของแต่ละตัวแปร  คำนวณโดยน้ำหนักของแต่ละตัวแปรคูณด้วยคะแนนการประเมิน)
ประเมินปัจจัยภายนอก  คะแนนถ่วงน้ำหนักที่ได้จะอยู่ในช่วง 1.0 ถึง 4.0 อธิบายได้ว่า  คะแนนถ่วงน้ำหนัก 2.50  แสดงว่าค่าอยู่เฉลี่ย  ถ้าคะแนนถ่วงน้ำหนักรวม = 4 แสดงถึงธุรกิจที่กำลังศึกษามีโอกาสในอุตสาหกรรมหรือมีอุปสรรคน้อย  คะแนนถ่วงน้ำหนัก = 2.3  แสดงถึงธุรกิจนี้อยู่ในตำแหน่งที่มีอุปสรรค

      3.  แมทริกซ์โครงร่างการแข่งขัน  (Competitive  Profile  Matrix : CPM)    เป็นแมทริกซ์ที่แสดงถึงคู่แข่งขันหลักของธุรกิจ  โดยที่จุดแข็งและจุดอ่อนและความสัมพันธ์ของตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ของบริษัท น้ำหนักและคะแนนถ่วงน้ำหนักรวมในแมทริกซ์โครงร่างการแข่งขันและแมทริกซ์การประเมินปัจจัยภายนอก  มีความหมายเหมือนกัน  ดังนั้นแมทริกซ์โครงร่างการแข่งขันจะรวมหัวข้อของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก  การประเมินอ้างถึงจุดแข็งจุดอ่อน  ดังนั้นการประเมินคะแนนถ่วงน้ำหนัก  วิเคราะห์โดยใช้ Porter’s Five Forces Model
ติดตามในบล็อคถัดไป    


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น