วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตอนที่ 2 6 ขั้นตอนกับกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ (Rezaian,2008)

ตอนที่ 2 ขั้นตอนกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ อีกครั้งหนึ่ง กับงานเขียนบทความทฤษฎีชั้นสูงทางด้านบริหารจัดการ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนครับ

Steps Of Strategic Planning Process ขั้นตอนกระบวนการวางแผนกลยุทธ์
1.      Formulating Organization’s Mission: การกำหนดพันธกิจขององค์กร
โดยปกติของธุรกิจ สิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างทันที คือการกำหนดพันธกิจขององค์กร คือ การกำหนดจุดหมาย หรือภารกิจที่องค์กรต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมาย (Purpose) ตัวอย่างเช่น หน่วยออกแบบ การพัฒนา การผลิต เป็นจุดหมายที่จะต้องถูกกำหนดให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า ช่องทางการจำหน่าย หรือพื้นที่การจำหน่าย (Hosseini-Nasab,2011) พันธกิจขององค์กรจะเป็นเหมือนเป้าหมายในอนาคต เป็นเส้นทางที่จะนำพาให้องค์กรเดินไปสู่ความสำเร็จตามมุ่งหมายขององค์กรที่ต้องการจะเป็น

  1. Goal Setting : การกำหนดเป้าหมาย
หลังจากที่องค์กรได้กำหนดพันธกิจ (Mission) สิ่งสำคัญคือ ภารกิจที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุ จะต้องกำหนดเป้าหมายที่มีการกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน ระบุภารกิจที่จะต้องทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย จะต้องกำหนดนโยบาย และปัจจัยที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความสำเร็จแก่องค์กร (Rezaian,2008) ดังนั้นส่วนสำคัญของขั้นตอนวางแผนคือ ความเข้าใจในนโยบายวัตถุประสงค์

  1. Evaluation of Organizational Resources & Environmental Opportunities and Threats: ประเมินทรัพยากรขององค์ พร้อมสภาพแวดล้อมของโอกาส และอุปสรรค
ลำดับต่อไปของกลยุทธ์ในการวางแผน คือ องค์กรต้องทำการประเมินเพื่อกำหนดจุดแข็ง และจุดอ่อนขององค์กร นำมาเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น ๆ และประเมินความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อม เปรียบเทียบหาความเป็นไปได้ของอุปสรรค และโอกาส ในความเป็นจริงแล้ว การจะพิจารณาผลกระทบทั้งภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์กรนั้น คือ การใช้เครื่องมือวิเคราะห์  SWOT นั่นเอง (Anderson in 1980) แนวทางนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธวิธีในการใช้เครื่องมือในการวางแผน (Rezaian, 2008)
SWOT คือเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์หา จุดแข็ง และจุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์กร การวิเคราะห์ SWOT ของธุรกิจ จุดแข็ง โอกาส ก็เพื่อมองหาความได้เปรียบ ความพร้อม ความเชี่ยวชาญ หรือทักษะที่องค์กรสามารถกระทำได้อย่างชำนาญ มีประสิทธิภาพเหนือกว่าคู่แข่ง ในขณะเดียวกัน การวิเคราะห์หาจุดอ่อน และอุปสรรค องค์กรจะต้องวิเคราะห์เพื่อหาวิธีลดช่องว่าง หามาตรการรองรับ เพื่อเสริมให้องค์กรมีศักยภาพที่จะคงอยู่ในการดำเนินธุรกิจให้ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างโอกาสให้สามารถแข่งขันในตลาดได้
SWOT (Strengths, Weaknesses, Opportunities, Threats)
Strengths: จุดแข็ง
หมายถึง คน ทรัพยากร ความชำนาญ หรือความสามารถใด ๆ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับคู่แข่ง หรือองค์กรอื่น ๆ หรือความต้องการใด ๆ ในตลาด หากนำมาเปรียบเทียบแล้ว เรามีความสามารถ มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่าคู่แข่ง
Weakness: จุดอ่อน
หมายถึง ข้อจำกัด หรือความด้อยในความสามารถ ความชำนาญ ที่คู่แข่งดูเหนือกว่า สิ่งเหล่านี้ อาจเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางไปสู่เป้าหมายขององค์กร
Opportunities: โอกาส
หมายถึง การพิจารณา หรือการมองออกไปนอกองค์กร ทั้งระยะสั้น ระยะยาว เพื่อดูว่า มีอะไรที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง หรือมีแนวโน้มอะไรที่จะเกิดขึ้น และส่งผลดีกับองค์กร หรือจะเอื้อให้ประโยชน์ต่อการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย
Threats: อุปสรรค
หมายถึง การพิจารณา หรือการมองออกไปนอกองค์กร ทั้งระยะสั้น ระยะยาว เพื่อดูว่า มีอะไรที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง หรือมีแนวโน้มอะไรที่จะเกิดขึ้น แต่ส่งผลลบกับองค์กร หรือไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย

  1. Strategy Formulation :การกำหนดกลยุทธ์
ปัจจัยหลักในการกำหนดกลยุทธ์นั้น องค์กรควรจะกำหนดให้มีความสอดคล้องกับความสามารถของธุรกิจ ควรจะกำหนดให้มีความท้าทาย และตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก นำผลจากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค มากำหนดเป็นนโยบาย หรือยุทธวิธีที่องค์กรควรจะเป็น เช่น จะกำหนดเป็นนโยบายในรูปแบบใด Cost Leadership Strategy, Differentiation Strategy or Focus Strategy

  1. Strategy Implementation :การปฏิบัติตามกลยุทธ์
หลังจากกำหนดกลยุทธ์แล้ว องค์กรต้องนำแผนไปปฏิบัติตามขั้นตอนที่วางไว้ องค์กรต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย การวางกลยุทธ์จะดีเลิศเพียงใด หากไม่มีการปฏิบัติอย่างเหมาะสม ก็จะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อองค์กรเลย ความสำเร็จของการนำกลยุทธ์มาปฏิบัติ ก็จะขึ้นอยู่กับความร่วมมือ การให้การสนับสนุน และการวางแผนอย่างมีระบบ ไม่ว่าผู้บริหาร หรือผู้ปฏิบัติงานในองค์กร จะต้องมีการสื่อสาร ร่วมมือร่วมใจเพื่อให้บรรลุตามแผน

  1. Strategy Evaluation : การประเมินผลกลยุทธ์
ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการจัดการวางแผนเชิงกลยุทธ์ คือ การประเมินผลของกลยุทธ์ การประเมินผลงานนี้ ก็เพื่อให้ทราบถึงผลของการปฏิบัติงานตามแผน จะสามารถบรรลุตามเป้าหมายขององค์กรหรือไม่ ประเมินดูว่า ภายใต้ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ที่กำหนดนั้น มีความเป็นไปได้ มีความสอดคล้องกับความสามารถขององค์กร ความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่ได้วิเคราะห์และกำหนดขึ้นมาหรือไม่ ดังนั้น ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการประเมินมี 3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือ
    1. ต้องทบทวนพันธกิจขององค์กร
    2. ประเมินเปรียบเทียบระหว่างผลของการปฏิบัติ กับผลของความคาดหวัง
    3. ต้องปรับปรุงแก้ไข หากไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตอนที่ 1 จุดเริ่มต้นของความสำเร็จ ในการวางแผนกลยุทธ์



ตอนที่จุดเริ่มต้นของความสำเร็จ ในการวางแผนกลยุทธ์   Successful Initiation of Strategic Planning  
          สวัสดีครับ ผม นายเผด็จ เย็นวิชัย นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยศรีปทุม บทความนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา วิชาทฤษฎีการจัดการเชิงกลยุทธ์ชั้นสูง สอนโดยท่านอาจารย์ ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น ซึ่งนักศึกษาจะต้องฝึกเขียนบทความแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์กัน ท่านผู้อ่าน ลองติดตามผลงานของพวกเรากันนะครับ 
             หลายคนมักจะกล่าวว่า จะทำการใด ๆ ไม่ว่าจะงานเล็กงานใหญ่ ก็ล้วนแต่ต้องวางกลยุทธ์ด้วยกันทั้งสิ้น อย่างเช่น หากวันนี้ ท่านต้องไปทานข้าวเย็นกับใครสักคน ก็ต้องวางกลยุทธ์เช่นกัน จะไปกี่โมง จะต้องทำอะไรก่อน รถจะติดหรือไม่ ต้องจองร้านอาหารก่อนมั้ย แล้วเราควรจะทานอะไร ข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ ก็ล้วนแต่ต้องคิด และวางกรอบไว้ การทำธุธกิจก็เช่นกัน คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องมีการวางกลยุทธ์ วางแผนไว้ก่อน หากแต่ข้อมูลที่ใช้ประกอบในการวางแผนกลยุทธ์นั้น คงมีรายละเอียดที่มากกว่ากัน 
          Harris และ Ogbonna (2006) ได้เสนอแนวคิด จุดเริ่มต้นของการวางแผนกลยุทธ์ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนมีอยู่ 8 ปัจจัยด้วยกัน
                                  
          













Source (Harris and Ogbonna, 2006)
1. Management Characteristics ลักษณะการวางแผนการบริหาร มี 2 ลักษณะ
1.1 Long-term Orientation การวางแผน การบริหารแบบระยะยาว ในแต่ละองค์กร จะต้องมีการกำหนดแผนให้ชัดว่า เรื่องใดเป็นแผนระยะสั้น หรือเรื่องใดเป็นแผนระยะยาว จะต้องมีการประเมินว่า แผนระยะสั้นมีผลตอบแทนตามนั้นหรือไม่ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการประเมินแผนระยะยาวว่ามีผลเป็นอย่างไร ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนในอนาคต
1.2 Perception of past Success การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีต ทั้งนี้ เพื่อทำการพิจารณาผลการดำเนินงานว่า มีประสิทธิภาพเป็นไปตามแผนหรือไม่ โดยมีเป้าหมายที่จะต้องนำไปพัฒนาปรับปรุง เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อองค์กร และอาจนำมาเป็นแผน หรือกรอบในการใช้เพื่อกำหนดมาตรการต่อไป

2. Firm Dynamics  การขับเคลื่อนธุรกิจ แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น คือ
2.1 Competitor Orientation  การเข้ามาของคู่แข่งขัน
            การเข้ามาของคู่แข่งขัน เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ ไม่เพียงแต่การพิจารณาจุดแข็ง และจุดอ่อน แต่ต้องพิจารณาทั้งทางเทคนิค และกลยุทธ์ ความสามารถขององค์กรในปัจจุบัน และที่จะมีความเป็นไปได้ของคู่แข่ง ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร การแข่งขันที่ใหญ่กว่า จะต้องมีการนำไปสู่การวางแผนให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์
2.2 Cultural Entrenchment  การสร้างวัฒนธรรมในการทำงาน
            การสร้างวัฒนธรรมในการทำงาน เป็นมาตรการที่แต่ละองค์กร จะต้องสร้างความร่วมมือร่วมใจให้เกิดขึ้น ความสำเร็จขององค์กร จะขับเคลื่อนไปได้ ต้องมีความร่วมมือกันเป็นหนึ่ง จะต้องเดินไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ดังนั้น หากองค์กรมีการกำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจน ก็ย่อมส่งผลที่ดีได้
2.3 Resource Richness  ความพร้อมของทรัพยากร
            ความพร้อมของทรัพยากร ถือเป็นสิ่งที่ช่วยให้บริษัท สามารถขับเคลื่อนได้อย่างคล่องตัว โดยทั่วไป องค์กรมักจะให้ความสำคัญในเรื่อง การจัดการทางการเงิน การบริหารด้านเวลา แน่นอนทั้งสองส่วนนี้ ล้วนจะมีผลต่อการเริ่มต้นของการวางแผนในลำดับต่อไป
2.4 Anti-planning Political Behavior  การป้องกันนโยบายทางการเมือง
            การวางแผนธุรกิจ จะต้องคำนึงถึงนโยบายทางการเมือง ในการดำเนินธุรกิจนั้น อาจมีมาตรการ กฎหมาย หรือกฎกระทรวงใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการวางแผนธุรกิจได้ ดังนั้น แต่ละองค์กร ต้องคำนึงถึงในเรื่องเหล่านี้ด้วย

3. Environmental Factors  ปัจจัยที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม
3.1 Competitive Intensity  การวางแผนในเรื่องของการแข่งขัน ต้องคำนึงถึงเงื่อนไข และสภาพแวดล้อม ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อการวางแผนทั้งสิ้น
3.2 Industry-wide Mindset  การเปิดโลกทัศน์ เปิดโลกของความคิด ถือเป็นการสร้างโอกาสให้แก่ธุรกิจ เป็นการลงทุนที่ไม่มาก แต่สามารถสร้างความเข้มแข็ง สร้างความสำเร็จแก่องค์กร และสอดคล้องต่อแผนกลยุทธ์
          สำหรับเรื่องนี้ ถือเป็นตอนที่ 1 ครับ จะมีงานที่ได้รับมอบหมายอีก ซึ่งจะได้เขียนกันในลำดับต่อไป
                                                                                                             ขอบคุณครับ
                                                                                                        นายเผด็จ เย็นวิชัย